วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 5 สถาบันสังคม


รายงานบทความที่ 5 สถาบันสังคม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรีม

หาวิทยาลัยนานาชาติเอเชียร์แปซิฟิก


กำเนิดสถาบันสังคม
สถาบันเกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้น และสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ นั่นเอง

Sumner กล่าวว่าสถาบันเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในผลประโยชน์ที่จำเป็นของมนุษย์
Lester F. Ward เชื่อมั่นว่า ความต้องการของสังคมทำให้เกิดสถาบันขึ้น 





         ลักษณะค่านิยมของสังคมไทย
        สภาพของสังคมไทยใน
ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา
 มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับทางประเทศ มีทุนให้ครูอาจารย์ไปดูงานต่างประเทศ
การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ
ของสังคมไทยด้วยดังนี้

         1.ยึดถือในพระพุทธศาสนา
              เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ่ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎ   เกณฑ์

ข้อบังคับของสงฆ์  ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันปัญหาการแสวงหา
ผลประโยชน์จากพุทธศาสนา
          2.เคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์
             สังคมไทยต่างจากสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน
ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ พระองค์เป็นสิ่งทุกอย่างในชีวิต ของ
คนไทย เป็นที่เคารพของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
         3.เชื่อในเรื่องของเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต
            ในสภาวะของเหตุการณ์ต่าง ๆ ปัจจุบันสังคมไทยปลูกฝังให้คนไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น
เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของความคิด ไม่ใครลอกเลียนแบบได้เรียกว่า
“ลิขสิทธิ์ทางปัญญา”เป็นต้น
         4.ค่านิยมในการให้ความรู้
           ปัจจุบันสังคมไทยมีการแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้
จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
         5.นิยมร่ำรวยและมีเยรติ
             สังคมไทยปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถ
บันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้ ขณะเดียวกันก็จะมีชื่อเสียงเกียรติยศตามมา จึงเป็นจุดเร้าให้
ทุกคนอยากรวย ไม่ว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีที่ถูกต้องจาการทำงาน หรือการได้มาด้วยการช่อโกง จึงทำให้เกิด
ช่องว่างระหว่างคนในสังคม
         6.มีความเชื่อมั่นตนเองสูง

            เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ
 มีบุคลิกภาพเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดี
          7.ชอบแก่งแยงชิงดีชิงเด่น
              ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องกระทำการแย่งชิง แสวงหา
ผลประโยชน์ให้ตนเอง
          8. นิยมการบริโภค
              นิยมบริโภคของแพง เลียนแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่
การมีหนี้สินมากมาย
          9.ต้องทำงานแข่งกับเวลา
              ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการ
พักผ่อน ให้ชัดเจน
          10.ชอบอิสระ ไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจใคร
                ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
                    11.ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงชายเท่าเทียมกัน
                หญิงไทยในยุคปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานได้เช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่ง
ของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช้ช้างเท้าหลังต่อไป
          12. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน
            ซึ่งการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าทางจิตใจ  ผู้ใหญ่ควรทำตน เป็น
ตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
          13. นิยมภาษาต่างประเทศ
                ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
และ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ  ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยาก
ต่อการศึกษาและนำไปใช้

สถาบันทางสังคม ในทางสังคมวิทยา หมายถึง                               วิธีการปฏิบัติที่สมาชิกในสังคมยอมรับเพื่อ          ประโยชน์ร่วมกันในสังคม

           องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม 
                1. องค์การทางสังคม ได้แก่ สถานภาพ บทบาท การควบคุมทางสังคม การจัดระดับความสำคัญของบุคคล                    ตามสถานภาพและค่านิยม 
                2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ ภาระผูกพันที่สถาบันจะต้องกระทำเพื่อสนองความต้องการของสังคม 
                3. ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ คือ วิถีทางในการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสถาบันของสังคม


จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น