วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 วัฒนธรรม

รายงานบทความที่ 3 วัฒนธรรม


เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก




มนุษย์อยู่ในสังคม มนุษย์ต้องมีการเรียนรู้พฤติกรรมของคนทั่วไป มนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่อาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยลำพังได้ เพราะมนุษย์ต้องมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่มนุษย์เกิดมาจนกระทั่งมนุษย์ตายไป มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกันตลอดชีวิต ในขณะที่สัตว์อื่นโดยทั่วไปจะมีเพียงการแสดงออกหรือมีการกระทำร่วมกันโดยสัญชาตญานเท่านั้น (Haralalambos and Holborn, 2004: 6)
วัฒนธรรมเป็นมโนภาพ (concept) ที่สำคัญอันหนึ่งในการศึกษาสังคมทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละสังคม
จากข้อความข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญมากต่อชีวิตมนุษย์ในสังคม ในการดำเนินชีวิต มนุษย์จะขาดวัฒนธรรมไม่ได้
ที่มาของคำว่า "วัฒนธรรม"
วัฒนธรรม (culture) มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำ คือิ คำว่า colere แปลว่าปลูกฝังหรือสั่งสอน และคำว่า cultus แปลว่า การปลูกฝังหรือการอบรม เมื่อรวมกันได้คำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (งามพิศ สัตย์สงวน, 2543 : 25)
ในภาษาไทย คำว่า "วัฒนธรรม" มาจากคำ 2 คำรวมกัน ได้แก่ คำว่า "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง กับอีกคำหนึ่งคือ คำว่า "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึงกฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาษาไทยจึงหมายถึงข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 4 )
ความหมายของวัฒนธรรม
คำว่า "วัฒนธรรม" มีผู้นิยามคำนี้ไว้มากมาย แต่บุคคลที่ได้นิยามคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้อย่างชัดเจนเป็นคนแรกคือ Edward B. Tylor ท่านผู้นี้เป็นชาวอังกฤษ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านมานุษยวิทยาคนแรกของโลก
Edward B. Tylor ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ในหนังสือ Primitive Culture ไว้ว่า "วัฒนธรรมคือสิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งรวมทั้งความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ รวมทั้งอุปนิสัยต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้มาโดยการเรียนรู้จากการเป็นสมาชิกของสังคม"
จากคำนิยามความหมายของวัฒนธรรมของ Edward B. Tylor ทำให้ทราบว่า อะไรบ้างที่เป็นวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งได้มาจาการเรียนรู้หรือเกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์
จากคำนิยามของ Edward B. Tylor ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ปรากฏว่าความหมายที่ให้ไว้นั้นมันกว้างมาก ฉะนั้น ในระยะเวลาต่อมาจึงมีนักมานุษย์วิทยาให้ความหมายของวัฒนธรรมหลากหลายมาก โดยนำคำนิยามของ Edward B. Tylor มาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมในลักษณะต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะต่างกันบ้างคล้ายกันบ้าง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคำนิยามที่สำคัญ ๆ ของนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงดังนี้
คนไทย นั้น ยิ้ม แล้ว น่ารัก ครับ

Kluckholn และ  Kelly นิยามวัฒนธรรมว่า คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาจเป็นสิ่งที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์
White นิิยามวัฒนธรรมว่า คือการจัดระเบียบของปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ เป็นการจัดระเบียบของการกระทำต่าง ๆ แบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ หรือการจัดระเบียบของความคิดต่าง ๆ ซึ่งการจัดระเบียบดังกล่าวขึ้นอยู่กับการใช้ระบบสัญลักษณ์และการที่มนุษย์ใช้สัญลักษณ์นั้นทำให้วัฒนธรรมได้ถ่ายทอดจากคน ๆ หนึ่งไปยังคนอีกคนหนึ่งได้
Coon นิยามว่า วัฒนธรรม คือ ผลรวมทั้งหมดของวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้และมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยการเรียนรู้
Herskovits นิยามวัฒนธรรมสั้น ๆ ว่า คือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
Linton นิยามวัฒนธรรมว่า คือกลุ่มคนที่มีการจัดระเบียบแล้ว และมีแบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมหนึ่ง ๆ
Kroeber นิยามวัฒนธรรมไว้ค่อนข้างยาว และได้รวมลักษณะต่าง ๆ ของวัฒนธรรมไว้มากกว่าคนอื่น Kroeber กล่าวว่าวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรมที่ได้มาโดยการเรียนรู้และที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งโดยใช้ระบบสัญลักษณ์นั้น เป็นเรื่องที่แตกต่างกันไปในกลุ่มชนต่าง ๆ นอกจากนี้วัฒนธรรมยังรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ส่วนประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรมประกอบไปด้วย ความคิดตามประเพณี และค่านิยม นอกนั้นยังมีระบบวัฒนธรรม ซึ่งอาจพิจารณาในแง่ที่เป็นผลของการกระทำ และในอีกแง่หนึ่งคือเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระทำต่อ ๆ ไป
Bidney นิยามวัฒนธรรมว่า เป็นสิ่งที่ได้มาโดยการเรียนรู้หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน รวมทั้งความคิดของปัจเจกชนต่าง ๆ ภายในสังคมนั้น ความเฉลียวฉลาด ศิลปะ ความคิดทางสังคม และสถาบันที่สมาชิกของสังคมมักจะยอมรับร่วมกัน และเป็นสิ่งที่สมาชิกพยายามจะปฏิบัติตาม
คำนิยามที่กล่าวมาทั้งหมด ส่วนใหญ่เน้นวัฒนธรรมในความหมายของการเรียนรู้ การถ่ายทอดทางสังคม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และเพิ่มในเรื่องของระบบสัญลักษณ์ขึ้นมา
Cuber ได้นิยามวัฒนธรรมไว้ได้อย่างชัดเจนมากที่สุด Cuber นิยามวัฒนธรรมว่า วัฒนธรรมคือแบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และยังรวมถึงผลที่เกิดจากการเรียนรู้
สำหรับสังคมไทยนั้น คำว่า "วัฒนธรรม" เป็นคำที่พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นผู้บัญญัติขึ้น และได้มีการใช้เป็นหลักฐานทางราฃการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 โดยแปลมาจากคำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์และคณะ, 2548 : 17)
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายว่า วัฒนธรรมคือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 4)
วัฒนธรรมกับอารยธรรม
หากพิจารณาคำสองคำนี้ในแง่ของความหมายแล้ว อาจกล่าวได้ว่าทั้งวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างก็หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามแต่ต่างกันที่มองกันคนละแง่ กล่าวคือ เมื่อเราพูดถึงวัฒนธรรมเราหมายถึงวิถีชีวิตของหมู่ชนแต่ละหมู่ โดยเราไม่มีการเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของใคร
อาจกล่าวได้ว่า อารยธรรมนั้น มักใช้ในความหมายที่แสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นวิวัฒนาการของวัฒนธรรมนั่นเอง
อารยธรรม เป็นวัฒนธรรมที่มนุษย์ได้พัฒนาให้เจริญขึ้นพ้นจากสภาพความป่าเถื่อน เป็นวัฒนธรรมที่สังคมอื่น ๆ ให้การยอมรับ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มนุษย์เริ่มมีอารยธรรมตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ตัวหนังสือเพื่อการสื่อสารและบางท่านเสนอความเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมของเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นปึกแผ่น
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า อารยธรรมหมายถึง สภาพของจิตใจของมนุษย์ที่ละทิ้งความป่าเถื่อน ละทิ้งกฎเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์อย่างป่าเถื่อนเข้ามาอยู่ด้วยกันในฐานะเป็นคนเมือง มีความสัมพันธ์กันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรม การวินิจฉันปัญหาต่าง ๆ ระหว่างกัน กระทำโดยสันติวิธี ไม่ผูกพันกับกำลังอำนาจ
ในทัศนะของนักสังคมวิทยา มีความเห็นว่า อารยธรรม หมายถึง ความเจริญของสังคมที่รุดหน้าแล้ว (Advanced society) ส่วนความเจริญของสังคมขั้นต้น (Primitive society) ไม่ถือเป็นอารยธรรม (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 15-16)
สรุป วัฒนธรรมคือ รูปแบบในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมหนึ่ง ๆ หรือวิถีชีวิตของคนในสังคม ส่วนอารยธรรมคือ วัฒนธรรมขั้นสูงที่เจริญแล้ว วัฒนธรรมที่หลุดพ้นไปจากความป่าเถื่อน ความล้าหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของสังคมอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน เป็นวัฒนธรรมขั้นสูงนี้เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้น ๆ โดยทั่วไป


ฝนตกแบบนี้ อากาศเปลี่ยนแปลลง บ่อย ดูแลสุขภาพดีดีนะเพื่อนๆๆทุกคน






นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก



วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 การจัดช่วงชั้นทางสังคม

รายงานบทความที่ 7 การจัดช่วงชั้นทางสังคม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก

คำแปลของคำว่า "social stratification"
คำว่า "social stratification" มีผู้ให้คำแปลเป็นภาษาไทยไว้หลากหลายมาก
ในที่นี้ขอใช้คำว่า "การจัดช่วงชั้นทางสังคม" ตามพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 

ความหมายของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม 
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูกจัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับที่สูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยุ่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทางสังคมคนละชั้นจะมีความเท่าเทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ อำนาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความสะดวกสบาย ความมีหน้าทีตาในสังคมแตกต่างกัน 

บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคลอาจเปลี่ยนฐานะของตนได้ กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่ำ แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและรับราชการดำรงตำแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้ แต่บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคลที่เป็นสมาชิกของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา
ความหมายของการจัดช่วงชั้นทางสังคม
สุพัตรา สุภาพ ได้ให้ความหมายคำว่า "social stratification" ไว้ว่าหมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้ครอบครัวในแต่ละสังคมแตกต่างกันในด้านอำนาจ สิทธิพิเศษ เกียรติยศ
พัทยา สายหู ได้ให้ความหมายของชั้นทางสังคม คือ กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะคุณสมบัติร่วมกันของกลุ่มที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด มีการจัดระดับสูงต่ำของกลุ่มหรือชนชั้นให้ไม่เท่าเทียมกันกับกลุ่มหรือชั้นอื่น และมีการกีดกั้นไม่ให้ล่วงล้ำเปลี่ยนชั้นเข้ามา ซึ่งส่วนมากเป็นการรังเกียจไม่ให้สมาชิกจากชั้นที่ต่ำกว่าขยับสูงขึ้นมาได้
อารง สุทธาศาสน์ ได้กล่าวไว้ว่า กลุ่มของความแตกต่างของกลุ่มคนในแต่ละสังคม เราเรียกว่า "ช่วงชั้นทางสังคม" หรือ "social stratification" อย่างไรก็ดี เมื่อเราพูดถึงคำว่าช่วงชั้นทางสังคมเรามักจะหมายถึงเฉพาะความแตกต่างในแง่ของลำดับชั้นสูงต่ำ คือ บางกลุ่มอยู่ในระดับต่ำ บางกลุ่มอยู่ในระดับสูง หรือบางกลุ่มอยู่ในระดับต่ำค่อนข้างสูง เหล่านี้แล้วแต่เราจะเรียก
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ  ได้ให้ความหมายของการจัดลำดับชั้นทางสังคมไว้ว่า เป็นการแบ่งระดับของคนในสังคมกลุ่มที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมเป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่โบราณและดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน การจัดลำดับชั้นทางสังคม (social stratification) เป็นด้านหนึ่งของการจัดระเบียบทางสังคม คือเป็นกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแยกคนในสังคมออกเป็นกลุ่มที่มีระดับสูงต่ำตามฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจ และเกียรติหรือศํกดิ์ศรี สังคมส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกที่สามารถแยกออกได้เป็นระดับชั้นลดหลั่นกัน ระดับชั้นหนึ่งก็คือคนกลุ่มหนึ่งที่มีทรัพย์สมบัติยศถาบรรดาศักดิ์หรือฐานะทางสังคมเท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกันกลุ่มคนเหล่านี้อาจเรียกว่าชนชั้นหรือวรรณะหรือฐานันดร แล้วแต่กฎเกณฑ์หรือระบบของการจัดลำดับชั้นในสังคมหนึ่ง ๆ
ไพฑูรย์ เครือแก้ว ณ ลำพูน  ได้กล่าวถึง การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม หมายถึงการจัดแบ่งสมาชิกของสังคมออกเป็นลำดับชั้นอันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้นมีเกียรติ หรือได้รับการยกย่องว่าอยู่ในอันดับที่สูงกว่า เท่ากับหรือต่ำกว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน
แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น


ชลชั้นวรรณะ ของ คนอินเดีย

วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นปกครอง  ต้องกล้าหาญ เข้มแข็ง  เด็ดเดี่ยว เป็นผู้นำ  ต้องบริจาคทานเสมอ ๆ
วรรณะแพศย์ หรือเวชชะ    พวกพลเรือน มีอาชีพทางการเกษตรและค้าขาย วิชาการที่บุคคลในวรรณะนี้ศึกษาได้แก่เกษตรกรรมและพาณิชยกรรม  ชนชั้นพ่อค้า   และกสิกรรมคล้ายศูทร
วรรณะศูทร เป็นคนทำกสิกรรม  และรับใช้วรรณะอื่น ๆ  คนงานหรือกรรมกร มีอาชีพในการรับจ้างที่ใช้แรงกาย การศึกษาของคนในวรรณะนี้ไม่ค่อยมี วิชาการบางอย่าง ห้ามเรียนโดยเด็ดขาด เชื่อกันว่าคนวรรณะนี้ เกิดจาก ฝ่าพระบาท (เท้า) ของพระพรหม    เฮ้อ  เป็นคนผิวดำที่พวกอารยันดูหมิ่นนัก  เป็นชาวอินเดียทางใต้ เชื้อสายดราวิเดียนนี่เอง   รวมไปถึงลูกครึ่งอารยันผสมดราวิเดียนด้วย
ในแต่ละวรรณะยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเรียกว่า ชาติ (JAT) อีกด้วย
ที่ร้ายสุดคือพวกที่เรียกว่า  จันฑาล หรืออธิศูทร   แค่ได้ยินชื่อก็น่ากลัวแล้ว   พวกเขาจะมีชีวิตที่แทบจะไม่เหมือนมนุษย์เลย  ถูกกีดกันจากสิทธิความเป็นมนุษย์เกือบทุกอย่าง   น่าเสียดายที่มันเป็นมาอย่างนี้     เขาเรียกตัวเองว่า ดาลิต
ดาลิต หมายถึงคนที่แตกสลาย  คนที่แตก พังยับเยิน  ทุกวันจะมีผู้หญิงจัณฑาลถูกข่มขืนโดยไม่มีใครช่วย   บ้านถูกเผา   ถูกฆ่าตาย โดยคนที่อยู่ในวรรณะเหนือกว่า !  ในรัฐพิหารคนจัณฑาลไม่สามารถเข้าไปดื่มน้ำในก็อกน้ำสาธารณะเหมือนคนอื่น  เข้าไปในวัด วิหารไม่ได้  ขึ้นรถโดยสายไม่ได้   จะเข้าสถานีตำรวจก็ต้องจ่ายค่าเข้า    มันเป็นการแยกชนชั้นโดยเอาศาสนามาบังหน้า
ระบบการแบ่งชนชั้นวรรณะ ยังคงมีอยู่ในอินเดีย แม้จะมีการออกกฏหมายห้ามเลือกปฏิบัติมานานกว่า 50 ปี  ตั้งแต่ปี 2498 เป็นต้นมาแล้วก็ตาม    คนที่อยู่ในวรรณะเหนือกว่าก็จะทำตัวใหญ่กว่า สูงกว่า และกดขี่คนที่มีวรรณะต่ำลงไป  เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่มานานในสังคมกว่า 2000 ปีแล้ว   ฐานอยู่ที่อาชีพเป็นเรื่องหลัก  กฎของฮินดูจากคัมภีร์ ทำให้เรื่องของการอยู่ในวรรณะเป็นเรื่องของการสืบต่อของวงศ์ตระกูล    เป็นอะไรก็ต้องเป็นอย่างนั้





      


จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 กลุ่มทางสังคม

รายงานบทความที่ 6 กลุ่มสังคม

Aristotle นักปราชญ์ชาวกรีก เคยกล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" (social animal) โดยที่เขาเชื่อว่ามนุษย์จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น มนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือโดยลำพังได้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันตลอดเวลา
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มกับกลุ่มสังคม
คำว่า "กลุ่ม" โดยทั่วไปมักหมายถึงการรวมตัวกันของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป แต่คนที่มารวมตัวกันนั้น ไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationship) เป็นการรวมตัวกันชั่วครู่แล้วต่างก็แยกย้ายกันไป
ส่วนคำว่า "กลุ่มสังคม" นั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้คือ
Alex Thio (2000: 36) ได้กล่าวถึงกลุ่มสังคมว่า หมาย ถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กัน มีความรู้สึกร่วมกัน กลุ่มคนที่มารวมกัน จำนวนคนที่รวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะไม่รู้จักกันหรือมีความสัมพันธ์กันมาก่อน
Horton & Hunt (อ้างในณรงค์ เส็งประชา, 2532 : 52)   ได้กล่าวถึงกลุ่มสังคมว่า กลุ่มสังคมคือกลุ่มคนที่ไม่เพียงแต่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการกระทำต่อกันทางสังคม มีการเร้า การตอบสนองซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้านค่านิยมร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน
Merton สรุปว่า แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มสังคมในทางสังคมวิทยา อ้างถึงคนจำนวนหนึ่งที่มามีความสัมพันธ์และมีการกระทำต่อกันทางสังคม เพื่อสร้างความเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นมา
ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ (2549 : 79) ได้กล่าวถึงกลุ่มสังคมว่าคือ คนตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีความสัมพันธ์ในทางร่วมมือหรือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์มีการติดต่อกันไปจนเป็นความผูกพันและผู้ที่สัมพันธ์กันเกิดความสำนึกว่าเป็นสมาชิกร่วมกันในกลุ่มเดียวกัน แยกออกได้จากกลุ่มอื่น ๆ
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มบุคคล ที่สมาชิกในกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์อย่างมีระบบแบบแผนเป็นที่ยอมรับร่วมกัน กลุ่มสังคมจะมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยมีสัญลักษณ์ มีความสนใจคล้ายกัน ซึ่งทำให้กลุ่มมีลักษณะแตกต่างกับกลุ่มอื่น ๆ
กลุ่มทางสังคมคืออะไร นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของกลุ่มทางสังคมแตกต่างกันออกไปดังนี้
Mavis Hiltunen Biesanz and John Biesanz กล่าวว่า กลุ่มสังคมหมายถึง กลุ่มซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คน หรือมากกว่านั้น ซึ่งมีการกระทำระหว่างกัน มีความรู้สึกร่วมกันในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก
Donald Light Jr. and Suzsnne Keller กล่าวว่า กลุ่มสังคมประกอบไปด้วยบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้น ซึ่งมีความรู้สึกเป็นสมาชิกร่วมกันและมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมตามเป้าหมายร่วมกัน มีแบบแผนพฤติกรรมของกลุ่มโดยการตกลงร่วมกัน
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง กล่าวว่า กลุ่มทางสังคม คือ คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีความสัมพันธ์ในทางร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์มีติดต่อกันไปจนเป็นความผูกพันและผู้มีสัมพันธ์กันเกิดความสำนึกว่า เป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน แยกออกได้จากกลุ่มอื่น ๆ เพื่อให้มองเห็นลักษณะของกลุ่มทางสังคมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า กลุ่มสังคมเป็นกลุ่มซึ่งประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนหรือมากกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่เราเป็นสมาชิกอยู่นั้น เรามักพบว่าบางครั้งมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยสมาชิกเพียงไม่กี่คน
กลุ่มปฐมภูมิ-กลุ่มทุติยภูมิ (Primary group and Secondary group)
การแบ่งประเภทนี้เป็นการแบ่งโดยพิจารณาถึงชนิดของความสัมพันธ์ (Type of Relationship) ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงพื้นฐานของกลุ่มและโครงสร้างของสังคมโดยทั่วไป (ปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2549 : 84)
กลุ่มปฐมภูมิ (Primary group) Charles H. Cooley นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่นำเอาความคิดเกี่ยวกับปฐมภูมิ (Primary group) มาใช้เป็นคนแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1909 จนกระทั่งแพร่หลายในระยะเวลาต่อมา
กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group) กลุ่มประเภทนี้มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างจากกลุ่มปฐมภูมิ
แนวโน้มของสังคมขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการทำงานโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ มักจะออกในรูปของกลุ่มทุติยภูมิมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณากันจริง ๆ แล้ว มักพบว่าในกลุ่มทุติยภูมินั้น บางครั้งก็มีการแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แอบแฝงหรือซ่อนอยู่เสมอ
และที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ กลุ่มปฐมภูมิและกลุ่มทุติยภูมินี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วย
กลุ่มใน-กลุ่มนอก (In-group and Out-group)
นักสังคมวิทยาสร้างแนวความคิดที่เรียกว่า กลุ่มใน (In-group) และกลุ่มนอก (Out-group) ขึ้นมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงวงเขตของกลุ่ม (group boundary)
ความหมายของกลุ่มใน (In-group) และกลุ่มนอก (Out-group)
กลุ่มใน (In-group) หมายถึง กลุ่มต่าง ๆ ที่เราเป็นสมาชิกอยู่และมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้น ซึ่งบางครั้งเราอาจเรียกว่ากลุ่มเรา (We-group) กลุ่มที่ยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความใกล้ชิด สนิทสนมกัน
กลุ่มนอก (Out-group) หมายถึง กลุ่มต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นสมาชิกไม่ได้เป็นพวกเดียวกัน บางครั้งเราอาจเรียกว่ากลุ่มเขา (They-group) ซึ่งอาจหมายถึงกลุ่มที่อยู่นอกวงของกลุ่มเรานั่นเอง กลุ่มพวกนี้มีลักษณะไม่สนิทสนมกัน อาจเป็นเพียงความรู้สึกเฉย ๆ ต่อกัน คุ้นเคยกัน หรือบางครั้งอาจเป็นศัตรูกัน
บางครั้งกลุ่มในและกลุ่มนอกอาจจะซ้อนกันอยู่ก็ได้
แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต






วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้สึกในการทำงานของกลุ่ม

ความรู้สึกในการทำงานร่วมกันของกลุ่ม 

สวัสดีครับเพื่อนๆๆที่กำลังอ่านหนังเพจนี้อยู่ นี้คือความรู้สึกต่างๆจากการร่วมทำงานกลุ่มของผมและเพื่อนๆๆครับ ผมมีความสุขมากกับการได้ทำงานกลุ่ม ถึงแม้ว่าบางครั้งผมและเพื่อนพวกเราอาจจะมีการเข้าใจผิดและทำงานได้เชื่องช้า แต่ทุกๆๆครั้งพวกเราก็ผ่านมาได้อย่างดี กลุ่มของผมมีกันอยู่สองคน คนแรกคือผมและอีกคนคือ น้อง นัตย์. น้อง นัตย์เป็นน้องชายที่น่ารักมากคนหนึ่งครับ เวลาพวกเราทำงานพวกเราจะสื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่้งอเท่าไหล่มากครับ แต่พวกเราก็ไม่เคยโกรธกันเลย ในการกลุ่มแล้วส่วนมากผมชอบหั้ยน้องนัตย์เป้นคนหาข้อมูลเล็กๆน้อยๆ มา บวกกับการที่ผมก็หาข้อมูลด้วย หลังจากที่ได้ข้อมูลแล้วผมก็จะเอาข้อมูลเหล่านี้มาอัพโหลดแล้วก็ตกแต่ง บลอก ของพวกเราแล้วก็ทำการอัพโหลด ครับ ช่วงแรกๆของการทำงานกับน้องนัตย์ ผมรู้สึกแย่นิดๆครับ
เพราะว่าการที่พวกเราไม่ค่อยจะเข้าใจกันมากกับการสื่อสารแล้ว อีกประเด็นหนึ่งก็คือการที่พวกเราเรียนต่างคลาสเลยทำให้เวลาว่างของพวกเราไม่ตรงกันมากเท่าไหล่ครับ ซึ่งบางครั้งผมว่างแต่ น้องนัตย์ไม่ว่างพวกเราก็จะทำงานไม่ได้เพราะต้องรอข้อมูลจากอีกฝ่ายครับ แต่ระยะหลังๆมานี้ผมเริ่มเข้าใจแกมากขึ้นและพยายามปรับตัวเองให้เข้ากับน้องนัตย์ จึงทำให้การทำงานของพวกเราไม่ค่อยมีปัญหามากเหม่อนแต่ก่อนแล้วครับ และ ก็อยากจะขอบคุณอาจารย๋ สุวรรณี ครับที่ ให้คำแนะนนำการทำงานมาตลอดจึงทำให้งานกลุ่มของผมเป็นไปด้วยดีครับ ขอบคุณครับ.... 

บทที่ 5 สถาบันสังคม


รายงานบทความที่ 5 สถาบันสังคม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรีม

หาวิทยาลัยนานาชาติเอเชียร์แปซิฟิก


กำเนิดสถาบันสังคม
สถาบันเกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้น และสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ นั่นเอง

Sumner กล่าวว่าสถาบันเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในผลประโยชน์ที่จำเป็นของมนุษย์
Lester F. Ward เชื่อมั่นว่า ความต้องการของสังคมทำให้เกิดสถาบันขึ้น