วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 กลุ่มทางสังคม

รายงานบทความที่ 6 กลุ่มสังคม

Aristotle นักปราชญ์ชาวกรีก เคยกล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" (social animal) โดยที่เขาเชื่อว่ามนุษย์จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น มนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือโดยลำพังได้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันตลอดเวลา
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มกับกลุ่มสังคม
คำว่า "กลุ่ม" โดยทั่วไปมักหมายถึงการรวมตัวกันของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป แต่คนที่มารวมตัวกันนั้น ไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationship) เป็นการรวมตัวกันชั่วครู่แล้วต่างก็แยกย้ายกันไป
ส่วนคำว่า "กลุ่มสังคม" นั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้คือ
Alex Thio (2000: 36) ได้กล่าวถึงกลุ่มสังคมว่า หมาย ถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กัน มีความรู้สึกร่วมกัน กลุ่มคนที่มารวมกัน จำนวนคนที่รวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะไม่รู้จักกันหรือมีความสัมพันธ์กันมาก่อน
Horton & Hunt (อ้างในณรงค์ เส็งประชา, 2532 : 52)   ได้กล่าวถึงกลุ่มสังคมว่า กลุ่มสังคมคือกลุ่มคนที่ไม่เพียงแต่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการกระทำต่อกันทางสังคม มีการเร้า การตอบสนองซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้านค่านิยมร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน
Merton สรุปว่า แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มสังคมในทางสังคมวิทยา อ้างถึงคนจำนวนหนึ่งที่มามีความสัมพันธ์และมีการกระทำต่อกันทางสังคม เพื่อสร้างความเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นมา
ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ (2549 : 79) ได้กล่าวถึงกลุ่มสังคมว่าคือ คนตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีความสัมพันธ์ในทางร่วมมือหรือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์มีการติดต่อกันไปจนเป็นความผูกพันและผู้ที่สัมพันธ์กันเกิดความสำนึกว่าเป็นสมาชิกร่วมกันในกลุ่มเดียวกัน แยกออกได้จากกลุ่มอื่น ๆ
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มบุคคล ที่สมาชิกในกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์อย่างมีระบบแบบแผนเป็นที่ยอมรับร่วมกัน กลุ่มสังคมจะมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยมีสัญลักษณ์ มีความสนใจคล้ายกัน ซึ่งทำให้กลุ่มมีลักษณะแตกต่างกับกลุ่มอื่น ๆ
กลุ่มทางสังคมคืออะไร นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของกลุ่มทางสังคมแตกต่างกันออกไปดังนี้
Mavis Hiltunen Biesanz and John Biesanz กล่าวว่า กลุ่มสังคมหมายถึง กลุ่มซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คน หรือมากกว่านั้น ซึ่งมีการกระทำระหว่างกัน มีความรู้สึกร่วมกันในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก
Donald Light Jr. and Suzsnne Keller กล่าวว่า กลุ่มสังคมประกอบไปด้วยบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้น ซึ่งมีความรู้สึกเป็นสมาชิกร่วมกันและมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมตามเป้าหมายร่วมกัน มีแบบแผนพฤติกรรมของกลุ่มโดยการตกลงร่วมกัน
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง กล่าวว่า กลุ่มทางสังคม คือ คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีความสัมพันธ์ในทางร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์มีติดต่อกันไปจนเป็นความผูกพันและผู้มีสัมพันธ์กันเกิดความสำนึกว่า เป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน แยกออกได้จากกลุ่มอื่น ๆ เพื่อให้มองเห็นลักษณะของกลุ่มทางสังคมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า กลุ่มสังคมเป็นกลุ่มซึ่งประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนหรือมากกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่เราเป็นสมาชิกอยู่นั้น เรามักพบว่าบางครั้งมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยสมาชิกเพียงไม่กี่คน
กลุ่มปฐมภูมิ-กลุ่มทุติยภูมิ (Primary group and Secondary group)
การแบ่งประเภทนี้เป็นการแบ่งโดยพิจารณาถึงชนิดของความสัมพันธ์ (Type of Relationship) ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงพื้นฐานของกลุ่มและโครงสร้างของสังคมโดยทั่วไป (ปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2549 : 84)
กลุ่มปฐมภูมิ (Primary group) Charles H. Cooley นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่นำเอาความคิดเกี่ยวกับปฐมภูมิ (Primary group) มาใช้เป็นคนแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1909 จนกระทั่งแพร่หลายในระยะเวลาต่อมา
กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group) กลุ่มประเภทนี้มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างจากกลุ่มปฐมภูมิ
แนวโน้มของสังคมขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการทำงานโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ มักจะออกในรูปของกลุ่มทุติยภูมิมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณากันจริง ๆ แล้ว มักพบว่าในกลุ่มทุติยภูมินั้น บางครั้งก็มีการแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แอบแฝงหรือซ่อนอยู่เสมอ
และที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ กลุ่มปฐมภูมิและกลุ่มทุติยภูมินี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วย
กลุ่มใน-กลุ่มนอก (In-group and Out-group)
นักสังคมวิทยาสร้างแนวความคิดที่เรียกว่า กลุ่มใน (In-group) และกลุ่มนอก (Out-group) ขึ้นมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงวงเขตของกลุ่ม (group boundary)
ความหมายของกลุ่มใน (In-group) และกลุ่มนอก (Out-group)
กลุ่มใน (In-group) หมายถึง กลุ่มต่าง ๆ ที่เราเป็นสมาชิกอยู่และมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้น ซึ่งบางครั้งเราอาจเรียกว่ากลุ่มเรา (We-group) กลุ่มที่ยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความใกล้ชิด สนิทสนมกัน
กลุ่มนอก (Out-group) หมายถึง กลุ่มต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นสมาชิกไม่ได้เป็นพวกเดียวกัน บางครั้งเราอาจเรียกว่ากลุ่มเขา (They-group) ซึ่งอาจหมายถึงกลุ่มที่อยู่นอกวงของกลุ่มเรานั่นเอง กลุ่มพวกนี้มีลักษณะไม่สนิทสนมกัน อาจเป็นเพียงความรู้สึกเฉย ๆ ต่อกัน คุ้นเคยกัน หรือบางครั้งอาจเป็นศัตรูกัน
บางครั้งกลุ่มในและกลุ่มนอกอาจจะซ้อนกันอยู่ก็ได้
แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น