วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 วัฒนธรรม

รายงานบทความที่ 3 วัฒนธรรม


เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก




มนุษย์อยู่ในสังคม มนุษย์ต้องมีการเรียนรู้พฤติกรรมของคนทั่วไป มนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่อาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยลำพังได้ เพราะมนุษย์ต้องมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่มนุษย์เกิดมาจนกระทั่งมนุษย์ตายไป มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกันตลอดชีวิต ในขณะที่สัตว์อื่นโดยทั่วไปจะมีเพียงการแสดงออกหรือมีการกระทำร่วมกันโดยสัญชาตญานเท่านั้น (Haralalambos and Holborn, 2004: 6)
วัฒนธรรมเป็นมโนภาพ (concept) ที่สำคัญอันหนึ่งในการศึกษาสังคมทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละสังคม
จากข้อความข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญมากต่อชีวิตมนุษย์ในสังคม ในการดำเนินชีวิต มนุษย์จะขาดวัฒนธรรมไม่ได้
ที่มาของคำว่า "วัฒนธรรม"
วัฒนธรรม (culture) มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำ คือิ คำว่า colere แปลว่าปลูกฝังหรือสั่งสอน และคำว่า cultus แปลว่า การปลูกฝังหรือการอบรม เมื่อรวมกันได้คำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (งามพิศ สัตย์สงวน, 2543 : 25)
ในภาษาไทย คำว่า "วัฒนธรรม" มาจากคำ 2 คำรวมกัน ได้แก่ คำว่า "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง กับอีกคำหนึ่งคือ คำว่า "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึงกฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาษาไทยจึงหมายถึงข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 4 )
ความหมายของวัฒนธรรม
คำว่า "วัฒนธรรม" มีผู้นิยามคำนี้ไว้มากมาย แต่บุคคลที่ได้นิยามคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้อย่างชัดเจนเป็นคนแรกคือ Edward B. Tylor ท่านผู้นี้เป็นชาวอังกฤษ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านมานุษยวิทยาคนแรกของโลก
Edward B. Tylor ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ในหนังสือ Primitive Culture ไว้ว่า "วัฒนธรรมคือสิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งรวมทั้งความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ รวมทั้งอุปนิสัยต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้มาโดยการเรียนรู้จากการเป็นสมาชิกของสังคม"
จากคำนิยามความหมายของวัฒนธรรมของ Edward B. Tylor ทำให้ทราบว่า อะไรบ้างที่เป็นวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งได้มาจาการเรียนรู้หรือเกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์
จากคำนิยามของ Edward B. Tylor ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ปรากฏว่าความหมายที่ให้ไว้นั้นมันกว้างมาก ฉะนั้น ในระยะเวลาต่อมาจึงมีนักมานุษย์วิทยาให้ความหมายของวัฒนธรรมหลากหลายมาก โดยนำคำนิยามของ Edward B. Tylor มาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมในลักษณะต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะต่างกันบ้างคล้ายกันบ้าง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคำนิยามที่สำคัญ ๆ ของนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงดังนี้
คนไทย นั้น ยิ้ม แล้ว น่ารัก ครับ

Kluckholn และ  Kelly นิยามวัฒนธรรมว่า คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาจเป็นสิ่งที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์
White นิิยามวัฒนธรรมว่า คือการจัดระเบียบของปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ เป็นการจัดระเบียบของการกระทำต่าง ๆ แบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ หรือการจัดระเบียบของความคิดต่าง ๆ ซึ่งการจัดระเบียบดังกล่าวขึ้นอยู่กับการใช้ระบบสัญลักษณ์และการที่มนุษย์ใช้สัญลักษณ์นั้นทำให้วัฒนธรรมได้ถ่ายทอดจากคน ๆ หนึ่งไปยังคนอีกคนหนึ่งได้
Coon นิยามว่า วัฒนธรรม คือ ผลรวมทั้งหมดของวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้และมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยการเรียนรู้
Herskovits นิยามวัฒนธรรมสั้น ๆ ว่า คือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
Linton นิยามวัฒนธรรมว่า คือกลุ่มคนที่มีการจัดระเบียบแล้ว และมีแบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมหนึ่ง ๆ
Kroeber นิยามวัฒนธรรมไว้ค่อนข้างยาว และได้รวมลักษณะต่าง ๆ ของวัฒนธรรมไว้มากกว่าคนอื่น Kroeber กล่าวว่าวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรมที่ได้มาโดยการเรียนรู้และที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งโดยใช้ระบบสัญลักษณ์นั้น เป็นเรื่องที่แตกต่างกันไปในกลุ่มชนต่าง ๆ นอกจากนี้วัฒนธรรมยังรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ส่วนประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรมประกอบไปด้วย ความคิดตามประเพณี และค่านิยม นอกนั้นยังมีระบบวัฒนธรรม ซึ่งอาจพิจารณาในแง่ที่เป็นผลของการกระทำ และในอีกแง่หนึ่งคือเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระทำต่อ ๆ ไป
Bidney นิยามวัฒนธรรมว่า เป็นสิ่งที่ได้มาโดยการเรียนรู้หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน รวมทั้งความคิดของปัจเจกชนต่าง ๆ ภายในสังคมนั้น ความเฉลียวฉลาด ศิลปะ ความคิดทางสังคม และสถาบันที่สมาชิกของสังคมมักจะยอมรับร่วมกัน และเป็นสิ่งที่สมาชิกพยายามจะปฏิบัติตาม
คำนิยามที่กล่าวมาทั้งหมด ส่วนใหญ่เน้นวัฒนธรรมในความหมายของการเรียนรู้ การถ่ายทอดทางสังคม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และเพิ่มในเรื่องของระบบสัญลักษณ์ขึ้นมา
Cuber ได้นิยามวัฒนธรรมไว้ได้อย่างชัดเจนมากที่สุด Cuber นิยามวัฒนธรรมว่า วัฒนธรรมคือแบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และยังรวมถึงผลที่เกิดจากการเรียนรู้
สำหรับสังคมไทยนั้น คำว่า "วัฒนธรรม" เป็นคำที่พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นผู้บัญญัติขึ้น และได้มีการใช้เป็นหลักฐานทางราฃการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 โดยแปลมาจากคำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์และคณะ, 2548 : 17)
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายว่า วัฒนธรรมคือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 4)
วัฒนธรรมกับอารยธรรม
หากพิจารณาคำสองคำนี้ในแง่ของความหมายแล้ว อาจกล่าวได้ว่าทั้งวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างก็หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามแต่ต่างกันที่มองกันคนละแง่ กล่าวคือ เมื่อเราพูดถึงวัฒนธรรมเราหมายถึงวิถีชีวิตของหมู่ชนแต่ละหมู่ โดยเราไม่มีการเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของใคร
อาจกล่าวได้ว่า อารยธรรมนั้น มักใช้ในความหมายที่แสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นวิวัฒนาการของวัฒนธรรมนั่นเอง
อารยธรรม เป็นวัฒนธรรมที่มนุษย์ได้พัฒนาให้เจริญขึ้นพ้นจากสภาพความป่าเถื่อน เป็นวัฒนธรรมที่สังคมอื่น ๆ ให้การยอมรับ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มนุษย์เริ่มมีอารยธรรมตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ตัวหนังสือเพื่อการสื่อสารและบางท่านเสนอความเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมของเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นปึกแผ่น
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า อารยธรรมหมายถึง สภาพของจิตใจของมนุษย์ที่ละทิ้งความป่าเถื่อน ละทิ้งกฎเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์อย่างป่าเถื่อนเข้ามาอยู่ด้วยกันในฐานะเป็นคนเมือง มีความสัมพันธ์กันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรม การวินิจฉันปัญหาต่าง ๆ ระหว่างกัน กระทำโดยสันติวิธี ไม่ผูกพันกับกำลังอำนาจ
ในทัศนะของนักสังคมวิทยา มีความเห็นว่า อารยธรรม หมายถึง ความเจริญของสังคมที่รุดหน้าแล้ว (Advanced society) ส่วนความเจริญของสังคมขั้นต้น (Primitive society) ไม่ถือเป็นอารยธรรม (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 15-16)
สรุป วัฒนธรรมคือ รูปแบบในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมหนึ่ง ๆ หรือวิถีชีวิตของคนในสังคม ส่วนอารยธรรมคือ วัฒนธรรมขั้นสูงที่เจริญแล้ว วัฒนธรรมที่หลุดพ้นไปจากความป่าเถื่อน ความล้าหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของสังคมอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน เป็นวัฒนธรรมขั้นสูงนี้เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้น ๆ โดยทั่วไป


ฝนตกแบบนี้ อากาศเปลี่ยนแปลลง บ่อย ดูแลสุขภาพดีดีนะเพื่อนๆๆทุกคน






นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น