วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4

                        การขัดเกลาทางสังคม


เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก






คำว่่า "Socialization" มีคำในภาษาไทยที่ใช้กันมากมายหลายคำ
ในที่นี้ขอใช้คำว่า "Socialization" ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมตามพจนานุกรมสังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 370) ซึ่งสอดคล้องกับสุพัตรา สุภาพ (2546 : 47)
ความหมายของการขัดเกลาทางสังคม
ราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 370-371) ได้ให้ความหมายของคำว่า Socialization ไว้ว่า หมายถึง กระบวนการทางสังคมกับจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้มีความเป็นคนโดยแท้จริง สามารถอยู่ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก
พัทยา สายหู (2544 : 107) กล่าวว่า การอบรมให้รู้ระเบียบคือกระบวนการที่สังคมหรือกลุ่มสั่งสอนโดยตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้ที่จะเป็นสมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้และรับเอาระเบียบวิธีกฏเกณฑ์ความประพฤติและคุณค่าต่าง ๆ ที่กลุ่มนั้นได้กำหนดไว้เป็นระเบียบของความประพฤติและความสัมพันธ์ของสมาชิกของสังคมนั้น
สุพัตรา สุภาพ (2546 : 48) ได้กล่าวว่า การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ได้เรียนรู้คุณค่ากฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนที่กลุ่มหนึ่ง ๆ กำหนดหรือวางไว้เพื่อเป็นแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันและให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
Alex Thio (1986 : 117) ได้กล่าวว่า การขัดเกลาทางสังคมคือกระบวนการที่สังคมถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่บุคคล เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การขัดเกลาทางสังคมจะทำให้เด็กได้กลายเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยการพัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของเขา
Jack Nobbs (1983 : 9) ได้กล่าวว่าการขัดเกลาทางสังคม คือกระบวนการที่บุคคลเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นสมาชิกของสังคม และเป็นกระบวนการที่ยาวนานตลอดชีวิตเริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา


George A. Theodorson & Achilles G. Theodorson (1990 : 103) ได้ให้ความหมายของคำว่า การขัดเกลาทางสังคม หมายถึง กระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมและวัฒนธรรมรองของคนในแต่ละสังคมหรือกลุ่มสังคม รวมถึงพฤติกรรมและการกระทำที่จะต้องแสดงตามสถานภาพและบทบาทที่เปลี่ยนไป
David Popence (1993 : 126) ได้ให้ความหมายของคำว่า Socialization ไว้ว่าหมายถึงกระบวนการของคนในสังคมในการกระทำระหว่างกันทางสังคม การได้รับรูปแบบของบุคลิกภาพ และการเรียนรู้การดำเนินวิถีชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ จากสังคมและกลุ่มสังคม
โดยสรุปแล้ว การขัดเกลาทางสังคม หมายถึง การเรียนรู้ของสมาชิกในสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง และเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม ตลอดจนเป็นการสร้างความเป็นตัวตน (Self) ให้กับตนเองด้วย
ความสำคัญของการขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคมนั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นคำที่ทั้งนักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยาให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนั้นเป็นกระบวนการที่ยาวนานต่อเนื่องตลอดชีวิต (life-long process) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นมาในสังคม กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสภาพของมนุษย์จากสภาพทางชีวภาพ (biological being) ให้เป็นมนุษย์ในทางสังคม (social being) ซึ่งทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ
ดังนั้น การที่มนุษย์ในสังคมมีบุคลิกภาพ นิสัยใจคอไม่เหมือนกันหรือแตกต่างออกไปนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มนุษย์แต่ละคนนั้นได้รับการขัดเกลาทางสังคมมาไม่เหมือนกัน มนุษย์จึงมีการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม หรือมีนิสัยใจคอหรือมีความแตกต่างกันในเรื่องของบุคลิกภาพ ซึ่งสังคมมักจะมีการหล่อหลอมหรือขัดเกลาให้มนุษย์เป็นคนที่มีบุคลิกภาพไปในทางที่สังคมต้องการ หรือพึงปรารถนา ในทางที่สังคมยอมรับ และเห็นว่าถูกต้องเหมาะสมหรือดีงาม ซึ่งในแต่ละสังคมวัฒนธรรมก็จะมีการขัดเกลาทางสังคมสมาชิกของตนแตกต่างกันออกไป อาจจะกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมนั้นเป็นตัวกำหนดรูปแบบบุคลิกภาพของคนในแต่ละสังคมก็ว่าได้

แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม 

1. บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ 

2. ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ 

3. ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
อาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหาย 
ทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสัง


183512.jpg
กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม

1. ครอบครัว 
2. กลุ่มเพื่อน 
3. โรงเรียน 
4. กลุ่มอาชีพ 

ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์ 
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม 
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมนุษย์


จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก









http://armmanu.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1

http://www.polsci.chula.ac.th/socant/index.php?option=com_content&view=article&id=182%3A2011-08-09-04-05-15&catid=34%3Ablog&Itemid=107&lang=en พัทยา สายหู
http://www.su.ac.th/images_about/pdf_senate/15.pdf พัทยา สายหู
http://www.alexthio.com/about/ Alex Thio
http://www.espncricinfo.com/england/content/player/14225.html Jack Hobbs
http://www.skysports.com/cricket/ashes/player/0,26361,16278_4961,00.html Jack hobbs
http://www.dailymail.co.uk/home/books/article-1391215/Batting-Britain--rare-breed-hero-JACK-HOBBS-ENGLANDS-GREATEST-CRICKETER-BY-LEO-MCINSTRY.html Jack Hobbs
http://www.youtube.com/watch?v=c7yXEmx1QzE Jack Hobbs
http://www.youtube.com/watch?v=ozg4iJDN4nk Jack Hobbs

1 ความคิดเห็น: