วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 11 ปัญหาสังคม

รายงานบทความที่ 11 ปัญหาสังคม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก



สภาพปัญหาสังคม 

จากความสำเร็จของการพัฒนาในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมาครั้นถึงพ.ศ. ๒๕๔๐ 

สิ่งที่ควบคู่มา กับความสำเร็จกลับกลายเป็นปัญหาที่สะสมพอกพูนตามมา

และ เพิ่มมากยิ่งขึ้น


ขณะนี้กลายเป็นปัญหาอันใหญ่ของสังคมไทยยุคโลกภิวัตน์ ปัญหาอันยิ่ง

ใหญ่ตาม คือ ปัญหาด้านสังคม จนอาจสรุปเป็นข้อความสั้น ๆ แต่น่าคิด

อย่างยิ่งว่า


"เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน"


ยิ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจให้ก้าวหน้ามากเท่าใด และความเจริญด้านวัตถุมี

มากเท่าใดสภาพด้าน

จิตใจกลับเสื่อมลง จิตใจ

คนสับสน ว้าเหว่ คนขาด

ที่พึ่ง

ทางใจครอบครัวที่เคย

เข้มแข็งกลับอ่อนแอ 

แตกแยก ชุมชน หมู่บ้าน 

ที่

เคยเข้มแข็งก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน

สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม 

จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรากฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้ดังต่อไปนี้ 

1) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
  • การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
  • การเพิ่มประชากร
  • การอพยพ
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
  • การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
  • การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม
2) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากความไม่เป็นระเบียบของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญ 5 ประการ กล่าวคือ



  • ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
  • ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
  • หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
  • ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
  • ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตาม
3) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดของสังคม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้เสพติดให้โทษ การที่คนเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางชีววิทยา(Biological Factor) ปัจจัยทางจิต (Mental factor) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Factor) ปัจจัยค่านิยมทางสังคม (Social Value) ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม (social structure factor) เป็นต้น 


 ขาดอากาศคือ ตาย ขาดคนข้างกาย คือ โสด



วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 9 พฤติกรรมเบี่ยงเบน

รายงานบทความที่ 9 พฤติกรรมเบี่ยงเบน

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก





พฤติกรรมเบี่ยงเบน หมายถึง พฤติกรรม ที่แสดงออกมาแล้ว สมาชิกในสังคมยอมรับไม่ได้และคนส่วนใหญ่จะเห็นว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกิด ขึ้นในสังคมส่วนมากเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจไม่ควรประพฤติปฏิบัติการกำจัด พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งถูกต้องที่ควรพึงกระทำด้วยการประณาม ตั้งข้อรังเกียจความหมายของพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีผู้สรุปเกี่ยวกับเรื่องความ หมายของพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดระเบียบหรือบรรทัดฐานของ สังคมที่กำหนดขึ้นสำหรับบุคคลในแต่ละสถานภาพที่แตกต่างกันนั้นคือ การที่บุคคลสองคนแสดงพฤติกรรมในลักษณะเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลทั้งสองนั้นจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน หรือไม่เบี่ยงเบนเหมือนกันทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสถานภาพของบุคคล หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนยังหมายถึง พฤติกรรม หรือความประพฤติที่ขัดแย้งกับบรรทัดฐานของกลุ่ม หรือสังคมส่วนรวม และการฝ่าฝืนบรรทัดฐานดังกล่าวเกินกว่าข้อจำกัดซึ่งจะต้องให้รับการลงโทษ





เล็งแก้กดเรียน รด.ต้องเกณฑ์ทหาร


'นรด.' เล็งแก้กฎกระทรวง เรียน 'รด.' ต้องเกณฑ์ทหาร จ่อให้อภิสิทธิ์เฉพาะคนเรียนจบปี 5 ชี้ 3 ปี ฝึกไม่เข้มข้น ยังไม่ทันยิงปืนเป็น ก็เรียนจบแล้ว



                          5 ก.พ. 56  พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีแนวคิดที่จะให้ผู้ที่จบหลักสูตรนักศึกษาวิชาการทหาร ต้องเข้ามาเกณฑ์ทหาร ว่า เรื่องนี้ยังเป็นแนวคิด ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ในทันที แต่ที่ผ่านมา ทาง นรด.มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะอนุสัญญาเจนีวา ห้ามไม่ให้เด็กฝึกอาวุธ จึงทำให้ นศ.วิชาทหาร ไม่สามารถฝึกอาวุธได้อย่างเข้มข้นเทียบเท่าการฝึกทหารเกณฑ์ ซึ่งคนที่เรียนจบ รด.ชั้นปีที่ 3 จะได้รับการแต่งตั้งเป็นทหารยศนายสิบ หากต้องมาปฏิบัติงาน ก็มีสิทธิปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะถ้าการฝึกผู้บังคับบัญชาอ่อนกว่า จะไปออกคำสั่งได้อย่างไร ดังนั้นจึงต้องมีการฝึก เพื่อให้สมกับที่มีการประดับยศเป็นผู้นำ
                          พล.ท.วิชิต กล่าวต่อว่า ส่วนการผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องแก้ไขในระดับกฎกระทรวงกลาโหม แต่ในส่วน พ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 คงไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้กำหนดระดับชั้น เป็นเพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น โดยในปีหนึ่งๆ จะมี นศ.วิชาทหารกว่าแสนคน แต่เรียนจบจริงประมาณ 8 หมื่นคน โดยการฝึกวิชาทหารอยู่ภายใต้แนวคิดลูกผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารที่มีวินัยสูงกว่าคนปกติ เพราะทหารมีอุดมการณ์สูงสุด คือ กล้าเสียสละชีวิตเลือดเนื้อ เพราะปกป้องประเทศชาติ ส่วนกรณีที่มีปัญหาว่า มีผู้ปกครองวิ่งเต้นให้บุตรหลานได้เรียน รด. เพื่อไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ นรด.เป็นหน่วยตรวจสอบไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชา ซึ่งปีนี้จะมีการประชาสัมพันธ์ให้มาก ว่าอย่าไปเชื่อใครที่บอกจะช่วยเหลือต่างๆ ได้
                          "กองทัพไม่ต้องการบุคคลที่ไม่แข็งแรงเข้ามาเป็นทหาร ถ้าโกงหรือวิ่งเต้นเข้ามาก็ต้องเจอกัน อย่าคิดว่าเสียเงินแล้วสามารถวิ่งเต้นได้ เพราะบางคนมีบุตรชาย แต่ไม่อยากให้เป็นทหาร ขอย้ำว่า การเป็นทหารไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิด และเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายไทย ผมให้เกียรติทหารทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและกองทัพ ทั้งนี้ยอมรับว่า หากเปิดให้มีการเรียน รด.มากขึ้น จะเกิดความเหลื่อมล้ำแน่นอน เพราะคนที่เรียน รด.ได้ คือ คนที่จบ ม.3 และต้องกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนต่อ จบ ม.3 แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงาน จะไม่มีโอกาสได้เรียน รด.และจำเป็นต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารแทน ผมมองว่า ไม่ยุติธรรม แต่หากเปิดให้เรียน รด. 100 เปอร์เซ็นต์ ถามว่า แล้วจะเอาใครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะกองทัพต้องมีทหาร"
                          ด้าน พล.ต.ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า นศ.วิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 ปัจจุบันไม่ต้องเป็นทหาร ทำให้มีการแย่งชิงกันเข้าเรียน และเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีเงินที่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นทหารด้วยการมาเรียน รด. ทั้งนี้ในอนาคตจะต้องพูดคุยว่า นศ.วิชาทหาร ที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้ว อาจจะต้องเป็นทหารต่อประมาณ 6 เดือน เหมือนกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี โดยใช้สิทธิสมัคร ส่วน นศ.วิชาทหาร ที่เรียนจบชั้นปีที่ 5 นั้น ไม่ต้องเป็นทหารต่อ แต่ถ้า นศ.วิชาทหาร ที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหารจะต้องเรียนให้จบชั้นปีที่ 5 ที่สำคัญกฎหมายสากล ระบุว่า เด็กไม่สามารถฝึกอาวุธได้ จึงจำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยปรับไปอยู่ชั้นปีที่ 4 - 5 เพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารมากขึ้น ไม่เช่นนั้น นศ.วิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 ยังไม่ทันยิงปืนเป็น ก็เรียนจบแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะยุติธรรมที่สุด ถ้าไม่ทำแบบนี้อาจจะเป็นการเอาเปรียบคนยากจนได้ ทางกองทัพต้องหาวิธีการ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งจะต้องไปศึกษารายละเอียด
                          พล.ต.ทวีชัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้มี นศ.วิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 - 3 ทั่วประเทศประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนชั้นปีที่ 4 - 5 มีอยู่ประมาณหมื่นกว่าคน จึงทำให้เกิดการแย่งกันเข้าเรียน รด.เพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่คนที่เรียนชั้นปีที่ 4 - 5 ต้องใจรักจริง โดยจะได้ยศเทียบเท่า ร.ต. เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ส่วน นศ.วิชาทหาร ที่เรียนชั้นปีที่ 3 จะได้ยศเทียบเท่ายศนายสิบ ในฐานะที่ตนเป็นครูฝึกและเป็นหน่วยที่รับผิดชอบ ต้องการให้นศ.วิชาทหารเหล่านี้เรียนจบชั้นปีที่ 5 เพื่อศักดิ์ศรีตนเองและปลูกฝังเรียนรู้เรื่องวิชาทหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยใช้ทหารกำลังสำรอง และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาก็เพิ่งฟื้นฟูระบบกำลังสำรอง เพื่อจัดให้เป็นรูปแบบระบบใหม่ โดยจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ ที่มีการพัฒนาเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะสิงคโปร์ เป่านกหวีดปรี๊ดเดียว ก็มีกำลังพล 2 กองพล พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที
                          "นศ.วิชาทหารของไทยมีระดับการเรียนเกรด 3 - 4 ถือว่ามีสติปัญญาดี แต่เมื่อมาฝึกระยะสั้นจะไม่ได้ผล แม้ว่าครูฝึกจะมีการสอนภาคปฏิบัติต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปร่าง แต่ถ้าเรียนต่อไปถึงปี 5 จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ถ้านำคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาเกณฑ์ทหารนั้น ความรู้ความสามารถอาจจะน้อยกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ กองทหารที่พัฒนาแล้วจะต้องมีทหารที่มีสติปัญญา เพราะนอกจากกำลังกายแล้วสติปัญญาก็สำคัญ กองทัพต้องมีการพัฒนา แต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้เลือก อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวจะต้องไปแก้ไขที่กฎกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กองทัพไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด และคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วนี้"
                          พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าจะมีการปรับหลักสูตร และอัตราของนักศึกษาวิชาทหารว่า ทางกระทรวงกลาโหม ขอชี้แจงว่า ตามเจตนารมณ์ 6 ข้อของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ที่มอบให้ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2555 เรื่องการพัฒนาระบบกำลังสำรองเป็นเจตนารมณ์ประการหนึ่งที่ให้มีการพิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหาร รวมทั้งพยายามสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาเป็นทหาร ตลอดจนพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์ทหารกองประจำการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับคุณวุฒิทางการศึกษา ระบบการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกให้เกิดความเหมาะสม เช่น พิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหาร โดยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในการเข้ามารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร
                          "นอกจากนี้หากมีการรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราส่วนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการในแต่ละผลัดลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในการปฏิบัติงานของหน่วยที่มีการบรรจุทหารกองประจำการได้ อย่างไรก็ตามหากจะมีการปรับระบบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารจะมีการประชุมหารือ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อผู้ที่เข้ารับการศึกษาและการปฏิบัติงานในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม"
                          ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวชี้แจงว่า เรื่องการจะให้นศ.วิชาทหารเข้ามาเกณฑ์ทหารเป็นเพียงแนวคิดของหน่วยที่เกี่ยวข้องที่มีการนำเสนอผ่านทางผู้บังคับบัญชา ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น และยังไม่คิดว่า จะต้องมีการแก้ไขกฎกระทรวงกลาโหมหรือไม่แต่อย่างใด เป็นเพียงข้อห่วงใยว่า แนวโน้มว่า ในอนาคตยอดคนที่เข้ามาตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะจากในอดีตที่เคยมีอัตราส่วนผู้เข้ารับการตรวจเลือก 10 คนเป็นทหารเพียง 1 คน แต่ปัจจุบันอัตราส่วนเหลือเพียงตรวจเลือก 2 คนต่อทหาร 1 คน ขณะเดียวกันความต้องการของผู้ปกครองที่จะให้บุตรเข้ามาเรียนรด.มีปริมาณมากกว่าทางราชการกำหนดไว้มาก ทางหน่วยที่เกี่ยวข้องจึงต้องหารือว่า จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร
                          อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ผ่านการเรียนรด.ส่วนหนึ่งสมัครใจและมีความประสงค์ที่จะเป็นทหารกองประจำการเช่นกัน หลายคนจึงเสนอว่าน่าจะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ผ่านการเรียนรด.เข้ามาเป็นทหารกองประจำการด้วย ทั้งนี้ในอนาคตทางกองทัพจะมีการพัฒนาระบบกำลังสำรอง โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับความเป็นสากล ซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกันและต้องปรับให้เหมาะกับสังคมไทย แต่ยืนยันว่า แนวคิดดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้แน่นอน ขอให้นศ.วิชาทหารที่เรียนอยู่ทุกคนสบายใจว่าการดำเนินการในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ทบ.เล็งแก้กฎกลาโหม ชง ร.ด.ต้อง "เกณฑ์ทหาร" จ่อให้อภิสิทธิ์เฉพาะคนเรียนจบปี 5


ภาพ : board.postjung.com
พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีแนวคิดที่จะให้ผู้ที่จบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารต้องเกณฑ์ทหารว่า เรื่องนี้ยังเป็นแนวคิด ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ในทันที แต่ที่ผ่านมาทาง นรด.มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะอนุสัญญาเจนีวาห้ามไม่ให้เด็กฝึกอาวุธ จึงทำให้ น.ศ.วิชาทหารไม่สามารถฝึกอาวุธได้อย่างเข้มข้นเทียบเท่าการฝึกทหารเกณฑ์ ซึ่งคนที่เรียนจบ ร.ด.ชั้นปีที่ 3 จะได้รับการแต่งตั้งเป็นทหารยศนายสิบ หากต้องออกมาปฏิบัติงานก็มีสิทธิปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะถ้าการฝึกผู้บังคับบัญชาอ่อนกว่า จะไปออกคำสั่งได้อย่างไร ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกเพื่อให้สมกับที่มีการประดับยศเป็นผู้นำ


พล.ท.วิชิตกล่าวว่า ส่วนการผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นนั้น ต้องแก้ไขในระดับกฎกระทรวงกลาโหม แต่ในส่วน พ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.2503 คงไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้กำหนดระดับชั้น เป็นเพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น โดยในปีหนึ่งๆ จะมี น.ศ.วิชาทหารกว่าแสนคน แต่เรียนจบจริงประมาณ 8 หมื่นคน โดยการฝึกวิชาทหารอยู่ภายใต้แนวคิดลูกผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารที่มีวินัยสูงกว่าคนปกติ เพราะทหารมีอุดมการณ์สูงสุด คือ กล้าเสียสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องประเทศชาติ ส่วนกรณีที่มีปัญหาว่า มีผู้ปกครองวิ่งเต้นให้บุตรหลานได้เรียน รด. เพื่อไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ นรด.เป็นหน่วยตรวจสอบ ไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชา ซึ่งปีนี้จะมีการประชาสัมพันธ์ให้มาก ว่า อย่าไปเชื่อใครที่บอกว่า จะช่วยเหลือต่างๆ ได้

"กองทัพไม่ต้องการบุคคลที่ไม่แข็งแรงเข้ามาเป็นทหาร ถ้าโกงหรือวิ่งเต้นเข้ามา ก็ต้องเจอกัน อย่าคิดว่าเสียเงินแล้วสามารถวิ่งเต้นได้ เพราะบางคนมีบุตรชาย แต่ไม่อยากให้เป็นทหาร ขอย้ำว่าการเป็นทหารไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิด และเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายไทย ผมให้เกียรติทหารทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและกองทัพ ทั้งนี้ ยอมรับว่าหากเปิดให้มีการเรียน รด.มากขึ้น จะเกิดความเหลื่อมล้ำแน่นอน เพราะคนที่เรียน รด.ได้ คือ คนที่จบ ม.3 และต้องกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนต่อ จบ ม.3 แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงานจะไม่มีโอกาสได้เรียน รด. และจำเป็นต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารแทน ผมมองว่า ไม่ยุติธรรม แต่หากเปิดให้เรียน รด. 100 เปอร์เซ็นต์ ถามว่าแล้วจะเอาใครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะกองทัพต้องมีทหาร" พล.ท.วิชิตระบุ 

ด้าน พล.ต.ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ปัจจุบันไม่ต้องเป็นทหาร ทำให้มีการแย่งชิงกันเข้าเรียน และเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีเงิน ที่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นทหารด้วยการมาเรียน รด. ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องพูดคุยว่า น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วอาจจะต้องเป็นทหารต่อประมาณ 6 เดือน เหมือนกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี โดยใช้สิทธิสมัคร ส่วน น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 5 นั้นไม่ต้องเป็นทหารต่อ แต่ถ้า น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหาร จะต้องเรียนให้จบชั้นปีที่ 5 ที่สำคัญกฎหมายสากลระบุว่า เด็กไม่สามารถฝึกอาวุธได้ จึงจำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยปรับไปอยู่ชั้นปีที่ 4-5 เพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารมากขึ้น ไม่เช่นนั้น น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ยังไม่ทันยิงปืนเป็น ก็เรียนจบแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะยุติธรรมที่สุด ถ้าไม่ทำแบบนี้ อาจเป็นการเอาเปรียบคนยากจนได้ ทางกองทัพต้องหาวิธีการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งจะต้องไปศึกษารายละเอียด         

พล.ต.ทวีชัยกล่าวต่อว่า ขณะนี้มี น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 1-3 ทั่วประเทศประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนชั้นปีที่ 4-5 มีอยู่ประมาณหมื่นกว่าคน จึงทำให้เกิดการแย่งกันเข้าเรียน รด.เพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่คนที่เรียนชั้นปีที่ 4-5 ต้องใจรักจริง โดยจะได้ยศเทียบเท่า ร.ต. เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ส่วน น.ศ.วิชาทหารที่เรียนชั้นปีที่ 3 จะได้ยศเทียบเท่ายศนายสิบ ในฐานะที่ตนเป็นครูฝึกและเป็นหน่วยที่รับผิดชอบ ต้องการให้ น.ศ.วิชาทหารเหล่านี้เรียนจบชั้นปีที่ 5 เพื่อศักดิ์ศรีตนเอง และปลูกฝังเรียนรู้เรื่องวิชาทหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยใช้ทหารกำลังสำรอง และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก็เพิ่งฟื้นฟูระบบกำลังสำรองเพื่อจัดให้เป็นรูปแบบระบบใหม่ โดยจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐ ที่มีการพัฒนาเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะสิงคโปร์เป่านกหวีดปรี๊ดเดียวก็มีกำลังพล 2 กองพล พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที

        
"น.ศ.วิชาทหารของไทย มีระดับการเรียนเกรด 3-4  ถือว่ามีสติปัญญาดี แต่เมื่อมาฝึกระยะสั้นจะไม่ได้ผล แม้ว่าครูฝึกจะมีการสอนภาคปฏิบัติต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปร่าง แต่ถ้าเรียนต่อไปถึงปี 5 จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ถ้านำคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาเกณฑ์ทหารนั้น ความรู้ความสามารถอาจจะน้อยกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ กองทหารที่พัฒนาแล้วจะต้องมีทหารที่มีสติปัญญา เพราะนอกจากกำลังกายแล้ว สติปัญญาก็สำคัญ กองทัพต้องมีการพัฒนา แต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้เลือก อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวจะต้องไปแก้ไขที่กฎกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กองทัพไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด และคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วนี้" พล.ต.ทวีชัยระบุ

ขณะที่ พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ตามเจตนารมณ์ 6 ข้อ ของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มอบให้ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) และผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 เรื่องการพัฒนาระบบกำลังสำรอง เป็นเจตนารมณ์ประการหนึ่ง ที่ให้มีการพิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหาร รวมทั้งพยายามสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาเป็นทหาร ตลอดจนพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์ทหารกองประจำการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับคุณวุฒิทางการศึกษา ทั้งนี้ ระบบการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกให้เกิดความเหมาะสม เช่น พิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหาร โดยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในการเข้ามารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร นอกจากนี้ หากมีการรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารเพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราส่วนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการในแต่ละผลัดลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในการปฏิบัติงานของหน่วย ที่มีการบรรจุทหารกองประจำการได้
          
"หากจะมีการปรับระบบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร จะมีการประชุมหารือเพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อผู้ที่เข้ารับการศึกษาและการปฏิบัติงานในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม" พ.อ.ธนาธิปกล่าว
จับรด.ปี 3 เกณฑ์ทหาร แก้กฎทหารยุคใหม่ ต้องฉลาด


       วานนี้ ( 5 ก.พ.) พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีแนวคิดที่จะให้ผู้ที่จบหลักสูตรนักศึกษาวิชาการทหารต้องเข้ามาเกณฑ์ทหารว่า เรื่องนี้ยังเป็นแนวคิด ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ในทันที แต่ที่ผ่านมาทาง นรด.ก็มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะอนุสัญญาเจนีวานั้นห้ามไม่ให้เด็กฝึกอาวุธ จึงทำให้ นศ.วิชาการทหารไม่สามารถฝึกอาวุธได้อย่างเข้มข้นเท่าที่ควร ทั้งนี้ไม่ว่าใครก็ตามที่เรียนจบรด.ชั้นปีที่ 3 จะได้รับการแต่งตั้งยศนายสิบ หากจำเป็นต้องออกมาปฏิบัติงานร่วมกับทหารก็มีสิทธิปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากขณะนี้การฝึกทหารเกณฑ์มีความเข้มข้นมากกว่าการฝึกผู้บังคับบัญชาถ้าอ่อนกว่าจะไปออกคำสั่งได้อย่างไร ดังนั้นจะต้องมีการฝึก เพื่อให้สมกับที่มีการประดับยศเป็นผู้นำคน
        ส่วนการผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น ตนคิดว่าจะต้องแก้ไขในระดับกฎกระทรวงกลาโหม สำหรับพ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.2503 นั้นคงไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้กำหนดระดับชั้น เป็นเพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น ทั้งนี้ทั่วประเทศใน 1 ปีจะมีนักเรียนสมัครเข้ามาเป็นนศ.วิชาทหารกว่าแสนคน แต่เรียนจบจริงประมาณ 8 หมื่นคน โดยการฝึกวิชาทหารนั้นอยู่ภายใต้แนวคิดลูกผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร ที่มีวินัยสูงกว่าคนปกติ เพราะทหารมีอุดมการณ์สูงสุดคือยอมสละได้แม้ชีวิตเลือดเนื้อ เพราะปกป้องประเทศชาติ เพราะฉะนั้นการฝึกทหารคือต้องฝึกให้คนสำนึกในชาติและกล้าที่จะเสียสละ
       เมื่อถามว่าปัจจุบันมีปัญหาที่ผู้ปกครองออกมาวิ่งเต้นให้บุตรหลานเรียน รด.มากขึ้น เพราะไม่ต้องการให้เป็นทหารเกณฑ์ พล.ท.วิชิต กล่าวว่า นรด.เป็นหน่วยตรวจสอบไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชา ซึ่งปีนี้จะต้องมีการทำการประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ให้มาก ว่าอย่าไปเชื่อใครทั้งสิ้นที่บอกว่าจะช่วยเหลือต่างๆ ได้ และกองทัพเองก็ไม่ต้องการบุคคลที่ไม่แข็งแรงเข้ามาเป็นทหาร ถ้าโกงหรือวิ่งเต้นเข้ามาก็ต้องเจอกัน อย่าไปคิดว่าเสียเงินแล้วสามารถวิ่งเต้นได้ บางคนมีบุตรชายแต่ไม่อยากให้เป็นทหาร ตนขอย้ำว่าการเป็นทหารไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิดและเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายไทย ตนให้เกียรติทหารทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและกองทัพ ส่วนที่มองว่าหากเปิดให้เรียนรด.มากขึ้นจะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตนยอมรับว่าเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นแน่นอน ถ้าเมื่อไหร่มีการเปิดให้เรียนรด.มากขึ้น โดยคนที่จะเรียนรด.ได้คือคนที่จบม.3 และยังต้องกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น เนื่องจากจะต้องมีอาจารย์คอยดูแลเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนผู้ปกครอง เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้เรียนต่อจบม.3 แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงานก็จะไม่มีโอกาสได้เรียนรด.และจำเป็นต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารแทน ตนมองว่าไม่ยุติธรรม แต่หากเปิดให้การเรียนรด. 100 เปอร์เซ็นต์ ตนถามว่าแล้วจะเอาใครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะกองทัพต้องมีทหาร
        ด้านพล.ต.ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า นศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ปัจจุบันไม่ต้องเป็นทหาร ทำให้มีการแย่งชิงกันเข้าเรียน และเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีเงินที่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นทหารด้วยการมาเรียนรด. ทั้งนี้ในอนาคตจะต้องพูดคุยว่านศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วอาจจะต้องเป็นทหารต่อประมาณ 6 เดือนเหมือนกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี โดยใช้สิทธิสมัคร ส่วนนศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 5 นั้นไม่ต้องเป็นทหารต่อ แต่ถ้านศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหารจะต้องเรียนให้จบชั้นปีที่ 5 ที่สำคัญกฎหมายสากลระบุว่า เด็กไม่สามารถฝึกอาวุธได้ จึงจำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยปรับไปอยู่ชั้นปีที่ 4-5 เพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารมากขึ้น ไม่เช่นนั้น นศ.วิชาทหารชั้นปีที่3 ยังไม่ทันยิงปืนเป็นก็เรียนจบแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะยุติธรรมที่สุด ถ้าไม่ทำแบบนี้อาจจะเป็นการเอาเปรียบคนยากจนได้ ทางกองทัพต้องหาวิธีการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งจะต้องไปศึกษารายละเอียด
        พล.ต.ทวีชัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีนศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 1-3 ทั่วประเทศประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนชั้นปีที่4-5 มีอยู่ประมาณหมื่นกว่าคน จึงทำให้เกิดการแย่งกันเข้าเรียนรด.เพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่คนที่เรียนชั้นปีที่4-5 ต้องใจรักจริง โดยจะได้ยศเทียบเท่า ร.ต. เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ส่วนนศ.วิชาทหารที่เรียนชั้นปีที่3 จะได้ยศเทียบเท่ายศนายสิบ ในฐานะที่ตนเป็นครูฝึกและเป็นหน่วยที่รับผิดชอบต้องการให้นศ.วิชาทหารเหล่านี้เรียนจบชั้นปีที่5 เพื่อศักดิ์ศรีตนเองและปลูกฝังเรียนรู้เรื่องวิชาทหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยใช้ทหารกำลังสำรอง และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านก็เพิ่งฟื้นฟูระบบกำลังสำรอง เพื่อจัดให้เป็นรูปแบบระบบใหม่ โดยจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯที่มีการพัฒนาเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะสิงคโปร์เป่านกหวีดปรี๊ดเดียวก็มีกำลังพล 2 กองพลพร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที
       “นศ.วิชาทหารของไทยมีระดับการเรียนเกรด 3-4 ถือว่ามีสติปัญญาดี แต่เมื่อมาฝึกระยะสั้นจะไม่ได้ผล แม้ว่าครูฝึกจะมีการสอนภาคปฏิบัติต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปร่าง แต่ถ้าเรียนต่อไปถึงปี 5 จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ถ้านำคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาเกณฑ์ทหารนั้น ความรู้ความสามารถอาจจะน้อยกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ กองทหารที่พัฒนาแล้วจะต้องมีทหารที่มีสติปัญญา เพราะนอกจากกำลังกายแล้วสติปัญญาก็สำคัญ กองทัพต้องมีการพัฒนา แต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้เลือก อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวจะต้องไปแก้ไขที่กฎกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กองทัพไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด และคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วนี้” พล.ต.ทวีชัย กล่าว
       พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ทางกระทรวงกลาโหมขอชี้แจงว่าตามเจตนารมณ์ 6 ข้อของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ที่มอบให้ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2555 เรื่องการพัฒนาระบบกำลังสำรองเป็นเจตนารมณ์ประการหนึ่ง ที่ให้มีการพิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหาร รวมทั้งพยายามสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาเป็นทหาร ตลอดจนพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์ทหารกองประจำการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับคุณวุฒิทางการศึกษา ระบบการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกให้เกิดความเหมาะสม เช่น พิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหาร โดยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในการเข้ามารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร นอกจากนี้หากมีการรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราส่วนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการในแต่ละผลัดลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในการปฏิบัติงานของหน่วยที่มีการบรรจุทหารกองประจำการได้ อย่างไรก็ตามหากจะมีการปรับระบบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารจะมีการประชุมหารือ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อผู้ที่เข้ารับการศึกษาและการปฏิบัติงานในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม

ทบ.เล็งแก้กฎกระทรวงกลาโหม ให้เรียนรด.จบปี 3 ต้องเกณฑ์ทหาร

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 15:19 น.


วันนี้ ( 5 ก.พ.) พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีแนวคิดที่จะให้ผู้ที่จบหลักสูตรนักศึกษาวิชาการทหารต้องเข้ามาเกณฑ์ทหารว่า เรื่องนี้ยังเป็นแนวคิด ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ในทันที แต่ที่ผ่านมาทาง นรด.ก็มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะอนุสัญญาเจนีวานั้นห้ามไม่ให้เด็กฝึกอาวุธ จึงทำให้ นศ.วิชาการทหารไม่สามารถฝึกอาวุธได้อย่างเข้มข้นเท่าที่ควร ทั้งนี้ไม่ว่าใครก็ตามที่เรียนจบรด.ชั้นปีที่ 3 จะได้รับการแต่งตั้งยศนายสิบ หากจำเป็นต้องออกมาปฏิบัติงานร่วมกับทหารก็มีสิทธิปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากขณะนี้การฝึกทหารเกณฑ์มีความเข้มข้นมากกว่าการฝึกผู้บังคับบัญชาถ้าอ่อนกว่าจะไปออกคำสั่งได้อย่างไร ดังนั้นจะต้องมีการฝึก เพื่อให้สมกับที่มีการประดับยศเป็นผู้นำคน

พล.ท.วิชิต กล่าวต่อว่า ส่วนการผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น ตนคิดว่าจะต้องแก้ไขในระดับกฎกระทรวงกลาโหม สำหรับพ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.2503 นั้นคงไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้กำหนดระดับชั้น เป็นเพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น ทั้งนี้ทั่วประเทศใน 1 ปีจะมีนักเรียนสมัครเข้ามาเป็นนศ.วิชาทหารกว่าแสนคน แต่เรียนจบจริงประมาณ 8 หมื่นคน โดยการฝึกวิชาทหารนั้นอยู่ภายใต้แนวคิดลูกผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร ที่มีวินัยสูงกว่าคนปกติ เพราะทหารมีอุดมการณ์สูงสุดคือยอมสละได้แม้ชีวิตเลือดเนื้อ เพราะปกป้องประเทศชาติ เพราะฉะนั้นการฝึกทหารคือต้องฝึกให้คนสำนึกในชาติและกล้าที่จะเสียสละ

เมื่อถามว่าปัจจุบันมีปัญหาที่ผู้ปกครองออกมาวิ่งเต้นให้บุตรหลานเรียน รด.มากขึ้น เพราะไม่ต้องการให้เป็นทหารเกณฑ์ พล.ท.วิชิต กล่าวว่า นรด.เป็นหน่วยตรวจสอบไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชา ซึ่งปีนี้จะต้องมีการทำการประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ให้มาก ว่าอย่าไปเชื่อใครทั้งสิ้นที่บอกว่าจะช่วยเหลือต่างๆ ได้ และกองทัพเองก็ไม่ต้องการบุคคลที่ไม่แข็งแรงเข้ามาเป็นทหาร ถ้าโกงหรือวิ่งเต้นเข้ามาก็ต้องเจอกัน อย่าไปคิดว่าเสียเงินแล้วสามารถวิ่งเต้นได้ บางคนมีบุตรชายแต่ไม่อยากให้เป็นทหาร ตนขอย้ำว่าการเป็นทหารไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิดและเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายไทย ตนให้เกียรติทหารทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและกองทัพ ส่วนที่มองว่าหากเปิดให้เรียนรด.มากขึ้นจะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตนยอมรับว่าเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นแน่นอน ถ้าเมื่อไหร่มีการเปิดให้เรียนรด.มากขึ้น โดยคนที่จะเรียนรด.ได้คือคนที่จบม.3  และยังต้องกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น เนื่องจากจะต้องมีอาจารย์คอยดูแลเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนผู้ปกครอง เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้เรียนต่อจบม.3 แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงานก็จะไม่มีโอกาสได้เรียนรด.และจำเป็นต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารแทน ตนมองว่าไม่ยุติธรรม แต่หากเปิดให้การเรียนรด. 100 เปอร์เซ็นต์ ตนถามว่าแล้วจะเอาใครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะกองทัพต้องมีทหาร

ด้านพล.ต.ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า นศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ปัจจุบันไม่ต้องเป็นทหาร ทำให้มีการแย่งชิงกันเข้าเรียน และเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีเงินที่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นทหารด้วยการมาเรียนรด. ทั้งนี้ในอนาคตจะต้องพูดคุยว่านศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วอาจจะต้องเป็นทหารต่อประมาณ 6 เดือนเหมือนกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี โดยใช้สิทธิสมัคร ส่วนนศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 5 นั้นไม่ต้องเป็นทหารต่อ แต่ถ้านศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหารจะต้องเรียนให้จบชั้นปีที่ 5 ที่สำคัญกฎหมายสากลระบุว่า เด็กไม่สามารถฝึกอาวุธได้ จึงจำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยปรับไปอยู่ชั้นปีที่ 4-5 เพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารมากขึ้น ไม่เช่นนั้น นศ.วิชาทหารชั้นปีที่3 ยังไม่ทันยิงปืนเป็นก็เรียนจบแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะยุติธรรมที่สุด ถ้าไม่ทำแบบนี้อาจจะเป็นการเอาเปรียบคนยากจนได้ ทางกองทัพต้องหาวิธีการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งจะต้องไปศึกษารายละเอียด

พล.ต.ทวีชัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีนศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 1-3 ทั่วประเทศประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนชั้นปีที่4-5 มีอยู่ประมาณหมื่นกว่าคน จึงทำให้เกิดการแย่งกันเข้าเรียนรด.เพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่คนที่เรียนชั้นปีที่4-5 ต้องใจรักจริง โดยจะได้ยศเทียบเท่า ร.ต. เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ส่วนนศ.วิชาทหารที่เรียนชั้นปีที่3 จะได้ยศเทียบเท่ายศนายสิบ ในฐานะที่ตนเป็นครูฝึกและเป็นหน่วยที่รับผิดชอบต้องการให้นศ.วิชาทหารเหล่านี้เรียนจบชั้นปีที่5 เพื่อศักดิ์ศรีตนเองและปลูกฝังเรียนรู้เรื่องวิชาทหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยใช้ทหารกำลังสำรอง และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านก็เพิ่งฟื้นฟูระบบกำลังสำรอง เพื่อจัดให้เป็นรูปแบบระบบใหม่ โดยจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯที่มีการพัฒนาเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะสิงคโปร์เป่านกหวีดปรี๊ดเดียวก็มีกำลังพล 2 กองพลพร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที

“นศ.วิชาทหารของไทยมีระดับการเรียนเกรด 3-4  ถือว่ามีสติปัญญาดี แต่เมื่อมาฝึกระยะสั้นจะไม่ได้ผล แม้ว่าครูฝึกจะมีการสอนภาคปฏิบัติต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปร่าง แต่ถ้าเรียนต่อไปถึงปี 5 จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ถ้านำคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาเกณฑ์ทหารนั้น ความรู้ความสามารถอาจจะน้อยกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ กองทหารที่พัฒนาแล้วจะต้องมีทหารที่มีสติปัญญา เพราะนอกจากกำลังกายแล้วสติปัญญาก็สำคัญ กองทัพต้องมีการพัฒนา แต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้เลือก  อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวจะต้องไปแก้ไขที่กฎกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กองทัพไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด  และคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วนี้” พล.ต.ทวีชัย กล่าว
วันจันทร์ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556
Posted by สิงห์นอกระบบ , ผู้อ่าน : 10080 , 20:40:12 น.  
หมวด : การศึกษา

พิมพ์หน้านี้
โหวต 18 คน sunsmile , แม่หมี และอีก 16 คนโหวตเรื่องนี้



หลังจากปรับเกณฑ์ในการรับนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) ให้อายุขั้นต่ำ17ปีและไม่เกิน21ปีแล้ว ผบ.ทบ.เตรียมเสนอให้ผู้ที่ผ่านรด.ปี3ต้องตรวจเลือกทหารอีกด้วย
“ต่อไปผมอาจเสนอว่าถ้าคนอยากเรียนนักศึกษาวิชาทหารจริงๆ ก็เรียนได้ แต่เมื่อถึงเวลาตรวจเลือกทหารจะต้องมาตรวจเลือกด้วย อยากจะดูว่าคนจะมาเรียน รด.มากเหมือนเดิมหรือไม่ ทั้งนี้หากมีนักศึกษาวิชาทหารเรียนให้มากขึ้นต้องเพิ่มครู และสถานที่ ซึ่งต้องชมเชย รด.หญิงที่สมัครเข้ามาเรียนทั้งที่ไม่ได้รับสิทธิอะไรทั้งสิ้น ผู้หญิงไทยเก่งเข้มแข็งดี ส่วนกฎหมายที่ห้ามเยาวชนต่ำว่า 18 ปีถืออาวุธนั้น เราแก้ปัญหาโดยให้เรียนแค่อาวุธศึกษา ไม่ต้องฝึกยิงปืน ซึ่งเราจะไม่ขัดกฎหมายอื่น ส่วนเรื่องทรงผมนักเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้นักเรียนไว้ผมยาวได้นั้น แต่ในส่วนของนักศึกษาวิชาทหาร ต้องมีกติกา ดังนั้นผมขอเถอะ เมี่อทุกคนแต่งเครื่องแบบทหารจึงควรจะไว้ผมสั้นเสียหน่อย มิเช่นนั้นจะแยกแยะไม่ออกระหว่างทหารกับพลเรือน ถ้าผม และหนวดยาวจะดูไม่เรียบร้อย” ผบ.ทบ.กล่าว
เผยหลักเกณฑ์ใหม่ ผู้สมัคร รด.ต้องมีอายุ 17-22 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษา 2555 มีการปรับคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหารจากเดิมจะรับผู้จบการศึกษาในระดับ ม.3 ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบร่างกายและมีผลการเรียนตามที่กำหนด อายุไม่เกิน 22 ปี พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงกลาโหมให้กองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ เกี่ยวกับพิธีการเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ โดยเฉพาะห้ามฝึกใช้อาวุธแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ฉะนั้นจะไม่รับสมัครผู้ที่มีอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นเกณฑ์อายุนักเรียนที่จบการศึกษาระดับ ม.3Ž แต่จะรับสมัครนักเรียนและนักศึกษาเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ที่มีอายุ 17-22 ปีบริบูรณ์  หากมีจำนวนผู้สมัครไม่เพียงพอ จึงจะรับผู้ที่อายุ 16 ปีบริบูรณ์ คือผู้ที่เกิดในปี พ.ศ.2539 เป็นลำดับถัดไป


แฟนกี่คน ก็ไม่ทนเท่าเพื่อนเรา
หากว่าสหายกำลังท้อ ... แค่มองที่มือนี้ แล้วยิ้มให้มัน
อย่าให้ความในอดีตมาขโมยความเป็นปัจจุบันของท่าน

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 10 พฤติกรรมรวมหมู่

รายงานบทความที่ 10 พฤติกรรมรวมหมู่

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
ความหมายของพฤติกรรมรวมหมู่
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 38) ได้ให้ความหมายของคำว่า พฤติกรรมรวมหมู่ ไว้ว่า คือพฤติกรรมของกลุ่มในลักษณะที่บุคคลทั้งหลายในกลุ่มนั้นกระทำด้วยแรงจูงใจ ความรู้สึกและทัศนคติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมือนว่ากลุ่มนั้นคือคน ๆ เดียว
สุพัตรา สุภาพ (2546 : 138) ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง พฤติกรรมของสังคม (social behavior) ที่มักจะเกิดขึ้นเองด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครบังคับ และมักจะคาดการณ์ไม่ได้ว่าผลจะเป็นอย่างไร ปกติมักจะหมายถึงพฤติกรรมของฝูงชน (crowd) จลาจล (riot) การแตกตื่น (panic) ขบวนการทางสังคม (social movement) และกลุ่มความคิดเห็นหรือมหาชน (publics)
สุภางค์ จันทวานิช (2549 : 117) ได้กล่าวว่า พฤติกรรมรวมหมู่ คือ พฤติกรรมของคนจำนวนมากซึ่งไม่มีแบบแผนของพฤติกรรมที่แน่นอนชัดเจน และไม่มีโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในกลุ่มนั้น
Tuner (อ้างในจำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ, 2548 : 181) กล่าวว่า พฤติกรรมรวมหมู่เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมที่ค่อนข้างไม่มีโครงสร้าง เปลี่ยนรูปได้เร็ว คาดคะเนไม่ได้ และบางครั้งบางคราวมีความรุนแรง
สรุป พฤติกรรมรวมหมู่ หมายถึง พฤติกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้น โดยการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคล โดยไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ไม่สามารถคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นจากกลุ่มบุคคลที่มีแรงจูงใจ มีอารมณ์ ความรู้สึกทัศนคติที่คล้าย ๆ กัน ระยะเวลาที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีความแน่นอน พฤติกรรมรวมหมู่อาจเป็นการรวมตัวกันโดยมีการกระทำที่รุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ได้
 แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น

พฤติกรรมร่วมเกิดจากการแพร่ระบาดทางอารมณ์ (Emotional contagion) ในสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางจิตใจ แสดงพฤติกรรมออกเพื่อระบายความกดดันภายในออกมา พฤติกรรมที่แสดงออกมานี้เป็นพฤติกรรมที่ยังไม่ลงตัวเป็นแบบแผน หรือสังคมขณะนั้น มีโครงสร้างที่ไม่แน่นอน 

จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย 
แปซิฟิก







วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

รายงานบทความที่ 8 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก

สังคมทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมพัฒนาแล้วหรือสังคมที่กำลังพัฒนาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเราไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร มีขอบเขตการเปลี่ยนแปลงขนาดไหน การเปลี่ยนแปลงชั่วคราวหรือถาวร และไม่อาจทราบด้วยว่าผลของการเปลี่ยนแปลงจะออกมาเป็นอย่างไร เจริญขึ้นหรือเสื่อมลง
การเปลี่ยนแปลงมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ เวลา การเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนสภาพจากที่เป็นอยู่ไปสู่อีกสภาพหนึ่ง ปกติเมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงเรามักจะคิดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งทั้งสังคมและวัฒนธรรมเปรียบเสมือนสิ่งที่มักจะไปคู่กันเสมอ เมื่อสังคมเปลี่ยนวัฒนธรรมก็เปลี่ยนตามไปด้วย หรือเมื่อวัฒนธรรมเปลี่ยนสังคมก็เปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะแยกสังคมออกจากวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมแยกออกจากสังคม
สังคมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมก็ย่อมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้มีนักสังคมวิทยาให้ความหมายไว้มากมาย ในที่นี้ขอยกมากล่าวเพียงบางส่วน ดังนี้
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 237) ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม
Henry Pratt Fairchild (อ้างในชุดา จิตพิทักษ์, 2528 : 159) ให้คำจำกัดความการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นลักษณะหนึ่งของกระบวนการ แบบแผนหรือรูปแบบสังคมซึ่งมีการผันแปรไปหรือมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นคำศัพท์รวมหมายถึงผลของการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ อย่างของกระบวนการทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจก้าวหน้าหรือถอยหลังก็ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรหรือชั่วคราว มีการวางแผนการไว้ หรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีแผนการ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวหรือหลายทิศทาง อาจก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษก็ได้
Kingsley Davis (อ้างในชุดา จิตพิทักษ์, 2528 : 160) ให้คำจำกัดความการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบสังคม กล่าวคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างและหน้าที่ของสังคม ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงเป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
Wilbert E. Moore (อ้างในบุญเดิม พันรอบ, 2528 : 218) กล่าวไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญประการแรก คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม เปลี่ยนแปลงแบบแผนการกระทำทางสังคมรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและผลที่เกิดจากความสัมพันธ์นั้นด้วย ประการที่สอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคม
Henry M. Johnson (อ้างในบุญเดิม พันรอบ, 2528 : 218) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมมีผลกระทบต่อหน้าที่ ๆ ต่าง ๆ ของสิ่งต่าง ๆ ในสังคม ผลกระทบนั้นอาจทำให้สภาพสังคมดีขึ้นหรือเสื่อมโทรมลงก็ได้ ถ้าต้องการให้สังคมคงอยู่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสถาบันใหม่ให้ดีขึ้น
นิเทศ ตินณะกุล (2551 : 9) ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมหรือของรูปแบบของความสัมพันธ์และการปะทะสัมพันธ์กันทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาท ระเบียบแบบแผนค่านิยมและวัฒนธรรม
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ(2541 : 21) ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม โครงสร้างสังคมนั้นประกอบด้วยกลุ่มคน ความสัมพันธ์และสถาบัน คือเป็นการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน การเปลี่ยนแปลงในด้านนี้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในอัตราการเกิด อัตราการตาย การกระจายตัวของประชากร การอพยพเคลื่อนย้าย เพราะกลุ่มคนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อสังคมเสมอ
วัชรา คลายนาทร (2530 : 184) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคมและระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม
ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ได้มีนักสังคมวิทยาให้ความหมายไว้ ดังนี้
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 99) ได้อธิบายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมของประชาชาติหนึ่ง ๆ ทั้งวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ แต่อัตราการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมสองประเภทนี้เป็นไปไม่เท่ากัน โดยทั่วไป วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุเปลี่ยนแปลงช้ากว่า นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงอาจจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยการวางแผนก็ได้
วัชรา คลายนาทร (2530 : 184) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ สิ่งประดิษฐ์ของสังคมทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ

จัดทำโดย

นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 วัฒนธรรม

รายงานบทความที่ 3 วัฒนธรรม


เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก




มนุษย์อยู่ในสังคม มนุษย์ต้องมีการเรียนรู้พฤติกรรมของคนทั่วไป มนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่อาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยลำพังได้ เพราะมนุษย์ต้องมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่มนุษย์เกิดมาจนกระทั่งมนุษย์ตายไป มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกันตลอดชีวิต ในขณะที่สัตว์อื่นโดยทั่วไปจะมีเพียงการแสดงออกหรือมีการกระทำร่วมกันโดยสัญชาตญานเท่านั้น (Haralalambos and Holborn, 2004: 6)
วัฒนธรรมเป็นมโนภาพ (concept) ที่สำคัญอันหนึ่งในการศึกษาสังคมทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละสังคม
จากข้อความข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญมากต่อชีวิตมนุษย์ในสังคม ในการดำเนินชีวิต มนุษย์จะขาดวัฒนธรรมไม่ได้
ที่มาของคำว่า "วัฒนธรรม"
วัฒนธรรม (culture) มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำ คือิ คำว่า colere แปลว่าปลูกฝังหรือสั่งสอน และคำว่า cultus แปลว่า การปลูกฝังหรือการอบรม เมื่อรวมกันได้คำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (งามพิศ สัตย์สงวน, 2543 : 25)
ในภาษาไทย คำว่า "วัฒนธรรม" มาจากคำ 2 คำรวมกัน ได้แก่ คำว่า "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง กับอีกคำหนึ่งคือ คำว่า "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึงกฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาษาไทยจึงหมายถึงข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 4 )
ความหมายของวัฒนธรรม
คำว่า "วัฒนธรรม" มีผู้นิยามคำนี้ไว้มากมาย แต่บุคคลที่ได้นิยามคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้อย่างชัดเจนเป็นคนแรกคือ Edward B. Tylor ท่านผู้นี้เป็นชาวอังกฤษ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านมานุษยวิทยาคนแรกของโลก
Edward B. Tylor ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ในหนังสือ Primitive Culture ไว้ว่า "วัฒนธรรมคือสิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งรวมทั้งความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ รวมทั้งอุปนิสัยต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้มาโดยการเรียนรู้จากการเป็นสมาชิกของสังคม"
จากคำนิยามความหมายของวัฒนธรรมของ Edward B. Tylor ทำให้ทราบว่า อะไรบ้างที่เป็นวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งได้มาจาการเรียนรู้หรือเกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์
จากคำนิยามของ Edward B. Tylor ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ปรากฏว่าความหมายที่ให้ไว้นั้นมันกว้างมาก ฉะนั้น ในระยะเวลาต่อมาจึงมีนักมานุษย์วิทยาให้ความหมายของวัฒนธรรมหลากหลายมาก โดยนำคำนิยามของ Edward B. Tylor มาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมในลักษณะต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะต่างกันบ้างคล้ายกันบ้าง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคำนิยามที่สำคัญ ๆ ของนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงดังนี้
คนไทย นั้น ยิ้ม แล้ว น่ารัก ครับ

Kluckholn และ  Kelly นิยามวัฒนธรรมว่า คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาจเป็นสิ่งที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์
White นิิยามวัฒนธรรมว่า คือการจัดระเบียบของปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ เป็นการจัดระเบียบของการกระทำต่าง ๆ แบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ หรือการจัดระเบียบของความคิดต่าง ๆ ซึ่งการจัดระเบียบดังกล่าวขึ้นอยู่กับการใช้ระบบสัญลักษณ์และการที่มนุษย์ใช้สัญลักษณ์นั้นทำให้วัฒนธรรมได้ถ่ายทอดจากคน ๆ หนึ่งไปยังคนอีกคนหนึ่งได้
Coon นิยามว่า วัฒนธรรม คือ ผลรวมทั้งหมดของวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้และมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยการเรียนรู้
Herskovits นิยามวัฒนธรรมสั้น ๆ ว่า คือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
Linton นิยามวัฒนธรรมว่า คือกลุ่มคนที่มีการจัดระเบียบแล้ว และมีแบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมหนึ่ง ๆ
Kroeber นิยามวัฒนธรรมไว้ค่อนข้างยาว และได้รวมลักษณะต่าง ๆ ของวัฒนธรรมไว้มากกว่าคนอื่น Kroeber กล่าวว่าวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรมที่ได้มาโดยการเรียนรู้และที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งโดยใช้ระบบสัญลักษณ์นั้น เป็นเรื่องที่แตกต่างกันไปในกลุ่มชนต่าง ๆ นอกจากนี้วัฒนธรรมยังรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ส่วนประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรมประกอบไปด้วย ความคิดตามประเพณี และค่านิยม นอกนั้นยังมีระบบวัฒนธรรม ซึ่งอาจพิจารณาในแง่ที่เป็นผลของการกระทำ และในอีกแง่หนึ่งคือเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระทำต่อ ๆ ไป
Bidney นิยามวัฒนธรรมว่า เป็นสิ่งที่ได้มาโดยการเรียนรู้หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน รวมทั้งความคิดของปัจเจกชนต่าง ๆ ภายในสังคมนั้น ความเฉลียวฉลาด ศิลปะ ความคิดทางสังคม และสถาบันที่สมาชิกของสังคมมักจะยอมรับร่วมกัน และเป็นสิ่งที่สมาชิกพยายามจะปฏิบัติตาม
คำนิยามที่กล่าวมาทั้งหมด ส่วนใหญ่เน้นวัฒนธรรมในความหมายของการเรียนรู้ การถ่ายทอดทางสังคม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และเพิ่มในเรื่องของระบบสัญลักษณ์ขึ้นมา
Cuber ได้นิยามวัฒนธรรมไว้ได้อย่างชัดเจนมากที่สุด Cuber นิยามวัฒนธรรมว่า วัฒนธรรมคือแบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และยังรวมถึงผลที่เกิดจากการเรียนรู้
สำหรับสังคมไทยนั้น คำว่า "วัฒนธรรม" เป็นคำที่พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นผู้บัญญัติขึ้น และได้มีการใช้เป็นหลักฐานทางราฃการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 โดยแปลมาจากคำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์และคณะ, 2548 : 17)
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายว่า วัฒนธรรมคือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 4)
วัฒนธรรมกับอารยธรรม
หากพิจารณาคำสองคำนี้ในแง่ของความหมายแล้ว อาจกล่าวได้ว่าทั้งวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างก็หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามแต่ต่างกันที่มองกันคนละแง่ กล่าวคือ เมื่อเราพูดถึงวัฒนธรรมเราหมายถึงวิถีชีวิตของหมู่ชนแต่ละหมู่ โดยเราไม่มีการเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของใคร
อาจกล่าวได้ว่า อารยธรรมนั้น มักใช้ในความหมายที่แสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นวิวัฒนาการของวัฒนธรรมนั่นเอง
อารยธรรม เป็นวัฒนธรรมที่มนุษย์ได้พัฒนาให้เจริญขึ้นพ้นจากสภาพความป่าเถื่อน เป็นวัฒนธรรมที่สังคมอื่น ๆ ให้การยอมรับ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มนุษย์เริ่มมีอารยธรรมตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ตัวหนังสือเพื่อการสื่อสารและบางท่านเสนอความเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมของเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นปึกแผ่น
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า อารยธรรมหมายถึง สภาพของจิตใจของมนุษย์ที่ละทิ้งความป่าเถื่อน ละทิ้งกฎเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์อย่างป่าเถื่อนเข้ามาอยู่ด้วยกันในฐานะเป็นคนเมือง มีความสัมพันธ์กันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรม การวินิจฉันปัญหาต่าง ๆ ระหว่างกัน กระทำโดยสันติวิธี ไม่ผูกพันกับกำลังอำนาจ
ในทัศนะของนักสังคมวิทยา มีความเห็นว่า อารยธรรม หมายถึง ความเจริญของสังคมที่รุดหน้าแล้ว (Advanced society) ส่วนความเจริญของสังคมขั้นต้น (Primitive society) ไม่ถือเป็นอารยธรรม (ณรงค์ เส็งประชา, 2539 : 15-16)
สรุป วัฒนธรรมคือ รูปแบบในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมหนึ่ง ๆ หรือวิถีชีวิตของคนในสังคม ส่วนอารยธรรมคือ วัฒนธรรมขั้นสูงที่เจริญแล้ว วัฒนธรรมที่หลุดพ้นไปจากความป่าเถื่อน ความล้าหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของสังคมอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน เป็นวัฒนธรรมขั้นสูงนี้เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้น ๆ โดยทั่วไป


ฝนตกแบบนี้ อากาศเปลี่ยนแปลลง บ่อย ดูแลสุขภาพดีดีนะเพื่อนๆๆทุกคน






นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก