วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 การจัดช่วงชั้นทางสังคม

รายงานบทความที่ 7 การจัดช่วงชั้นทางสังคม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก

คำแปลของคำว่า "social stratification"
คำว่า "social stratification" มีผู้ให้คำแปลเป็นภาษาไทยไว้หลากหลายมาก
ในที่นี้ขอใช้คำว่า "การจัดช่วงชั้นทางสังคม" ตามพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 

ความหมายของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม 
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูกจัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับที่สูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยุ่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทางสังคมคนละชั้นจะมีความเท่าเทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ อำนาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความสะดวกสบาย ความมีหน้าทีตาในสังคมแตกต่างกัน 

บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคลอาจเปลี่ยนฐานะของตนได้ กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่ำ แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและรับราชการดำรงตำแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้ แต่บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคลที่เป็นสมาชิกของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา
ความหมายของการจัดช่วงชั้นทางสังคม
สุพัตรา สุภาพ ได้ให้ความหมายคำว่า "social stratification" ไว้ว่าหมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้ครอบครัวในแต่ละสังคมแตกต่างกันในด้านอำนาจ สิทธิพิเศษ เกียรติยศ
พัทยา สายหู ได้ให้ความหมายของชั้นทางสังคม คือ กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะคุณสมบัติร่วมกันของกลุ่มที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด มีการจัดระดับสูงต่ำของกลุ่มหรือชนชั้นให้ไม่เท่าเทียมกันกับกลุ่มหรือชั้นอื่น และมีการกีดกั้นไม่ให้ล่วงล้ำเปลี่ยนชั้นเข้ามา ซึ่งส่วนมากเป็นการรังเกียจไม่ให้สมาชิกจากชั้นที่ต่ำกว่าขยับสูงขึ้นมาได้
อารง สุทธาศาสน์ ได้กล่าวไว้ว่า กลุ่มของความแตกต่างของกลุ่มคนในแต่ละสังคม เราเรียกว่า "ช่วงชั้นทางสังคม" หรือ "social stratification" อย่างไรก็ดี เมื่อเราพูดถึงคำว่าช่วงชั้นทางสังคมเรามักจะหมายถึงเฉพาะความแตกต่างในแง่ของลำดับชั้นสูงต่ำ คือ บางกลุ่มอยู่ในระดับต่ำ บางกลุ่มอยู่ในระดับสูง หรือบางกลุ่มอยู่ในระดับต่ำค่อนข้างสูง เหล่านี้แล้วแต่เราจะเรียก
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ  ได้ให้ความหมายของการจัดลำดับชั้นทางสังคมไว้ว่า เป็นการแบ่งระดับของคนในสังคมกลุ่มที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมเป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่โบราณและดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน การจัดลำดับชั้นทางสังคม (social stratification) เป็นด้านหนึ่งของการจัดระเบียบทางสังคม คือเป็นกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแยกคนในสังคมออกเป็นกลุ่มที่มีระดับสูงต่ำตามฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจ และเกียรติหรือศํกดิ์ศรี สังคมส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกที่สามารถแยกออกได้เป็นระดับชั้นลดหลั่นกัน ระดับชั้นหนึ่งก็คือคนกลุ่มหนึ่งที่มีทรัพย์สมบัติยศถาบรรดาศักดิ์หรือฐานะทางสังคมเท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกันกลุ่มคนเหล่านี้อาจเรียกว่าชนชั้นหรือวรรณะหรือฐานันดร แล้วแต่กฎเกณฑ์หรือระบบของการจัดลำดับชั้นในสังคมหนึ่ง ๆ
ไพฑูรย์ เครือแก้ว ณ ลำพูน  ได้กล่าวถึง การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม หมายถึงการจัดแบ่งสมาชิกของสังคมออกเป็นลำดับชั้นอันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้นมีเกียรติ หรือได้รับการยกย่องว่าอยู่ในอันดับที่สูงกว่า เท่ากับหรือต่ำกว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน
แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น


ชลชั้นวรรณะ ของ คนอินเดีย

วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นปกครอง  ต้องกล้าหาญ เข้มแข็ง  เด็ดเดี่ยว เป็นผู้นำ  ต้องบริจาคทานเสมอ ๆ
วรรณะแพศย์ หรือเวชชะ    พวกพลเรือน มีอาชีพทางการเกษตรและค้าขาย วิชาการที่บุคคลในวรรณะนี้ศึกษาได้แก่เกษตรกรรมและพาณิชยกรรม  ชนชั้นพ่อค้า   และกสิกรรมคล้ายศูทร
วรรณะศูทร เป็นคนทำกสิกรรม  และรับใช้วรรณะอื่น ๆ  คนงานหรือกรรมกร มีอาชีพในการรับจ้างที่ใช้แรงกาย การศึกษาของคนในวรรณะนี้ไม่ค่อยมี วิชาการบางอย่าง ห้ามเรียนโดยเด็ดขาด เชื่อกันว่าคนวรรณะนี้ เกิดจาก ฝ่าพระบาท (เท้า) ของพระพรหม    เฮ้อ  เป็นคนผิวดำที่พวกอารยันดูหมิ่นนัก  เป็นชาวอินเดียทางใต้ เชื้อสายดราวิเดียนนี่เอง   รวมไปถึงลูกครึ่งอารยันผสมดราวิเดียนด้วย
ในแต่ละวรรณะยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเรียกว่า ชาติ (JAT) อีกด้วย
ที่ร้ายสุดคือพวกที่เรียกว่า  จันฑาล หรืออธิศูทร   แค่ได้ยินชื่อก็น่ากลัวแล้ว   พวกเขาจะมีชีวิตที่แทบจะไม่เหมือนมนุษย์เลย  ถูกกีดกันจากสิทธิความเป็นมนุษย์เกือบทุกอย่าง   น่าเสียดายที่มันเป็นมาอย่างนี้     เขาเรียกตัวเองว่า ดาลิต
ดาลิต หมายถึงคนที่แตกสลาย  คนที่แตก พังยับเยิน  ทุกวันจะมีผู้หญิงจัณฑาลถูกข่มขืนโดยไม่มีใครช่วย   บ้านถูกเผา   ถูกฆ่าตาย โดยคนที่อยู่ในวรรณะเหนือกว่า !  ในรัฐพิหารคนจัณฑาลไม่สามารถเข้าไปดื่มน้ำในก็อกน้ำสาธารณะเหมือนคนอื่น  เข้าไปในวัด วิหารไม่ได้  ขึ้นรถโดยสายไม่ได้   จะเข้าสถานีตำรวจก็ต้องจ่ายค่าเข้า    มันเป็นการแยกชนชั้นโดยเอาศาสนามาบังหน้า
ระบบการแบ่งชนชั้นวรรณะ ยังคงมีอยู่ในอินเดีย แม้จะมีการออกกฏหมายห้ามเลือกปฏิบัติมานานกว่า 50 ปี  ตั้งแต่ปี 2498 เป็นต้นมาแล้วก็ตาม    คนที่อยู่ในวรรณะเหนือกว่าก็จะทำตัวใหญ่กว่า สูงกว่า และกดขี่คนที่มีวรรณะต่ำลงไป  เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่มานานในสังคมกว่า 2000 ปีแล้ว   ฐานอยู่ที่อาชีพเป็นเรื่องหลัก  กฎของฮินดูจากคัมภีร์ ทำให้เรื่องของการอยู่ในวรรณะเป็นเรื่องของการสืบต่อของวงศ์ตระกูล    เป็นอะไรก็ต้องเป็นอย่างนั้





      


จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น