วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 10 พฤติกรรมรวมหมู่

รายงานบทความที่ 10 พฤติกรรมรวมหมู่

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
ความหมายของพฤติกรรมรวมหมู่
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 38) ได้ให้ความหมายของคำว่า พฤติกรรมรวมหมู่ ไว้ว่า คือพฤติกรรมของกลุ่มในลักษณะที่บุคคลทั้งหลายในกลุ่มนั้นกระทำด้วยแรงจูงใจ ความรู้สึกและทัศนคติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมือนว่ากลุ่มนั้นคือคน ๆ เดียว
สุพัตรา สุภาพ (2546 : 138) ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง พฤติกรรมของสังคม (social behavior) ที่มักจะเกิดขึ้นเองด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครบังคับ และมักจะคาดการณ์ไม่ได้ว่าผลจะเป็นอย่างไร ปกติมักจะหมายถึงพฤติกรรมของฝูงชน (crowd) จลาจล (riot) การแตกตื่น (panic) ขบวนการทางสังคม (social movement) และกลุ่มความคิดเห็นหรือมหาชน (publics)
สุภางค์ จันทวานิช (2549 : 117) ได้กล่าวว่า พฤติกรรมรวมหมู่ คือ พฤติกรรมของคนจำนวนมากซึ่งไม่มีแบบแผนของพฤติกรรมที่แน่นอนชัดเจน และไม่มีโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในกลุ่มนั้น
Tuner (อ้างในจำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ, 2548 : 181) กล่าวว่า พฤติกรรมรวมหมู่เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมที่ค่อนข้างไม่มีโครงสร้าง เปลี่ยนรูปได้เร็ว คาดคะเนไม่ได้ และบางครั้งบางคราวมีความรุนแรง
สรุป พฤติกรรมรวมหมู่ หมายถึง พฤติกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้น โดยการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคล โดยไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ไม่สามารถคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นจากกลุ่มบุคคลที่มีแรงจูงใจ มีอารมณ์ ความรู้สึกทัศนคติที่คล้าย ๆ กัน ระยะเวลาที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีความแน่นอน พฤติกรรมรวมหมู่อาจเป็นการรวมตัวกันโดยมีการกระทำที่รุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ได้
 แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น

พฤติกรรมร่วมเกิดจากการแพร่ระบาดทางอารมณ์ (Emotional contagion) ในสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางจิตใจ แสดงพฤติกรรมออกเพื่อระบายความกดดันภายในออกมา พฤติกรรมที่แสดงออกมานี้เป็นพฤติกรรมที่ยังไม่ลงตัวเป็นแบบแผน หรือสังคมขณะนั้น มีโครงสร้างที่ไม่แน่นอน 

จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย 
แปซิฟิก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น