วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 11 ปัญหาสังคม

รายงานบทความที่ 11 ปัญหาสังคม

เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก



สภาพปัญหาสังคม 

จากความสำเร็จของการพัฒนาในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมาครั้นถึงพ.ศ. ๒๕๔๐ 

สิ่งที่ควบคู่มา กับความสำเร็จกลับกลายเป็นปัญหาที่สะสมพอกพูนตามมา

และ เพิ่มมากยิ่งขึ้น


ขณะนี้กลายเป็นปัญหาอันใหญ่ของสังคมไทยยุคโลกภิวัตน์ ปัญหาอันยิ่ง

ใหญ่ตาม คือ ปัญหาด้านสังคม จนอาจสรุปเป็นข้อความสั้น ๆ แต่น่าคิด

อย่างยิ่งว่า


"เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน"


ยิ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจให้ก้าวหน้ามากเท่าใด และความเจริญด้านวัตถุมี

มากเท่าใดสภาพด้าน

จิตใจกลับเสื่อมลง จิตใจ

คนสับสน ว้าเหว่ คนขาด

ที่พึ่ง

ทางใจครอบครัวที่เคย

เข้มแข็งกลับอ่อนแอ 

แตกแยก ชุมชน หมู่บ้าน 

ที่

เคยเข้มแข็งก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน

สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม 

จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรากฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้ดังต่อไปนี้ 

1) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
  • การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
  • การเพิ่มประชากร
  • การอพยพ
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
  • การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
  • การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม
2) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากความไม่เป็นระเบียบของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญ 5 ประการ กล่าวคือ



  • ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
  • ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
  • หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
  • ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
  • ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตาม
3) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดของสังคม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้เสพติดให้โทษ การที่คนเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางชีววิทยา(Biological Factor) ปัจจัยทางจิต (Mental factor) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Factor) ปัจจัยค่านิยมทางสังคม (Social Value) ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม (social structure factor) เป็นต้น 


 ขาดอากาศคือ ตาย ขาดคนข้างกาย คือ โสด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น