วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4

                        การขัดเกลาทางสังคม


เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก






คำว่่า "Socialization" มีคำในภาษาไทยที่ใช้กันมากมายหลายคำ
ในที่นี้ขอใช้คำว่า "Socialization" ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมตามพจนานุกรมสังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 370) ซึ่งสอดคล้องกับสุพัตรา สุภาพ (2546 : 47)
ความหมายของการขัดเกลาทางสังคม
ราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 370-371) ได้ให้ความหมายของคำว่า Socialization ไว้ว่า หมายถึง กระบวนการทางสังคมกับจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้มีความเป็นคนโดยแท้จริง สามารถอยู่ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก
พัทยา สายหู (2544 : 107) กล่าวว่า การอบรมให้รู้ระเบียบคือกระบวนการที่สังคมหรือกลุ่มสั่งสอนโดยตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้ที่จะเป็นสมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้และรับเอาระเบียบวิธีกฏเกณฑ์ความประพฤติและคุณค่าต่าง ๆ ที่กลุ่มนั้นได้กำหนดไว้เป็นระเบียบของความประพฤติและความสัมพันธ์ของสมาชิกของสังคมนั้น
สุพัตรา สุภาพ (2546 : 48) ได้กล่าวว่า การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ได้เรียนรู้คุณค่ากฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนที่กลุ่มหนึ่ง ๆ กำหนดหรือวางไว้เพื่อเป็นแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันและให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
Alex Thio (1986 : 117) ได้กล่าวว่า การขัดเกลาทางสังคมคือกระบวนการที่สังคมถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่บุคคล เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การขัดเกลาทางสังคมจะทำให้เด็กได้กลายเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยการพัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของเขา
Jack Nobbs (1983 : 9) ได้กล่าวว่าการขัดเกลาทางสังคม คือกระบวนการที่บุคคลเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นสมาชิกของสังคม และเป็นกระบวนการที่ยาวนานตลอดชีวิตเริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา


George A. Theodorson & Achilles G. Theodorson (1990 : 103) ได้ให้ความหมายของคำว่า การขัดเกลาทางสังคม หมายถึง กระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมและวัฒนธรรมรองของคนในแต่ละสังคมหรือกลุ่มสังคม รวมถึงพฤติกรรมและการกระทำที่จะต้องแสดงตามสถานภาพและบทบาทที่เปลี่ยนไป
David Popence (1993 : 126) ได้ให้ความหมายของคำว่า Socialization ไว้ว่าหมายถึงกระบวนการของคนในสังคมในการกระทำระหว่างกันทางสังคม การได้รับรูปแบบของบุคลิกภาพ และการเรียนรู้การดำเนินวิถีชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ จากสังคมและกลุ่มสังคม
โดยสรุปแล้ว การขัดเกลาทางสังคม หมายถึง การเรียนรู้ของสมาชิกในสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง และเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม ตลอดจนเป็นการสร้างความเป็นตัวตน (Self) ให้กับตนเองด้วย
ความสำคัญของการขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคมนั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นคำที่ทั้งนักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยาให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนั้นเป็นกระบวนการที่ยาวนานต่อเนื่องตลอดชีวิต (life-long process) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นมาในสังคม กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสภาพของมนุษย์จากสภาพทางชีวภาพ (biological being) ให้เป็นมนุษย์ในทางสังคม (social being) ซึ่งทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ
ดังนั้น การที่มนุษย์ในสังคมมีบุคลิกภาพ นิสัยใจคอไม่เหมือนกันหรือแตกต่างออกไปนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มนุษย์แต่ละคนนั้นได้รับการขัดเกลาทางสังคมมาไม่เหมือนกัน มนุษย์จึงมีการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม หรือมีนิสัยใจคอหรือมีความแตกต่างกันในเรื่องของบุคลิกภาพ ซึ่งสังคมมักจะมีการหล่อหลอมหรือขัดเกลาให้มนุษย์เป็นคนที่มีบุคลิกภาพไปในทางที่สังคมต้องการ หรือพึงปรารถนา ในทางที่สังคมยอมรับ และเห็นว่าถูกต้องเหมาะสมหรือดีงาม ซึ่งในแต่ละสังคมวัฒนธรรมก็จะมีการขัดเกลาทางสังคมสมาชิกของตนแตกต่างกันออกไป อาจจะกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมนั้นเป็นตัวกำหนดรูปแบบบุคลิกภาพของคนในแต่ละสังคมก็ว่าได้

แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม 

1. บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ 

2. ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ 

3. ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
อาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหาย 
ทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสัง


183512.jpg
กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม

1. ครอบครัว 
2. กลุ่มเพื่อน 
3. โรงเรียน 
4. กลุ่มอาชีพ 

ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์ 
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม 
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมนุษย์


จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก









http://armmanu.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1

http://www.polsci.chula.ac.th/socant/index.php?option=com_content&view=article&id=182%3A2011-08-09-04-05-15&catid=34%3Ablog&Itemid=107&lang=en พัทยา สายหู
http://www.su.ac.th/images_about/pdf_senate/15.pdf พัทยา สายหู
http://www.alexthio.com/about/ Alex Thio
http://www.espncricinfo.com/england/content/player/14225.html Jack Hobbs
http://www.skysports.com/cricket/ashes/player/0,26361,16278_4961,00.html Jack hobbs
http://www.dailymail.co.uk/home/books/article-1391215/Batting-Britain--rare-breed-hero-JACK-HOBBS-ENGLANDS-GREATEST-CRICKETER-BY-LEO-MCINSTRY.html Jack Hobbs
http://www.youtube.com/watch?v=c7yXEmx1QzE Jack Hobbs
http://www.youtube.com/watch?v=ozg4iJDN4nk Jack Hobbs

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 การจัดระเบียบทางสังคม

รายงานบทความที่ 2 การจัดระเบียบทางสังคม
จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
สังคมคืออะไร
Alex Thio (2000 : 33) อธิบายว่า สังคมหมายถึงการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน และอาศัยอยู่ในอาณาเขตเดียวกัน เป็นกลุ่มใหญ่
Haralambos and Holborn (2004 : 8) กล่าวว่าสังคมคือ การรวมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีการอยู่ในอาณาเขตหรือดินแดนเดียวกันโดยมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน มีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมร่วมกัน
ณรงค์ เส็งประชา (2539 : 16) สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมหรือแบบแผนในการดำเนินชีวิตร่วมกัน ซึ่งเป็นแบบแผนที่สังคมนั้นได้ประมวลไว้เป็นแบบอย่างเพื่อประโยชน์ของกลุ่มสังคม
วิวัฒนาการของสังคม
ตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นมาบนโลก สังคมมนุษย์มีวิวัฒนาการตามลำดับขั้นตอนที่แตกต่างกันไป แต่ละลำดับขั้นตอนของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของสังคมแต่ละยุค จากสังคมที่มีระดับเทคโนโลยีที่เรียบง่ายไปสู่ระดับเทคโลยีที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้น เทคโนโลยีมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม
ความหมายของการจัดระเบียบทางสังคม
มนุษย์เราไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็ตาม มนุษย์จะต้องมีกฏเกณฑ์หรือกฏระเบียบอะไรบางอย่างในการอยู่ร่วมกัน เพื่อสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น ทุกสังคมจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดระเบียบขึ้นไม่มากก็น้อย โดยปกติสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการจัดระเบียบทางสังคมหลักใหญ่ ๆ ที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีส่วนปลีกย่อยบางอย่างที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization) หมายถึงการทำให้เกิดความมีระเบียบขึ้นในสังคมมนุษย์
แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
http://www.alexthio.com/about/ Alex Thio

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น

รายงานบทความที่ 1 การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น
จัดทำโดย
นายณฐฤทธิ์ วิระชะนัง 201010204
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
นายเชิดชัย วัจนะผาสุข 201000138
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
เสนอ
อาจารย์สุวรรณี ล้านศรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก
ความเป็นมาของสังคมวิทยา
Craig Calhoun กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะนั้นโลกมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่วงที่สังคมตะวันตกเรียกว่า "ยุคสมัยใหม่" ในช่วงนั้นเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้ระบบของสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดมีโรงงานขึ้นมากมายเกิดความเป็นเมืองขึ้นอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองมากกว่าอยู่ในชนบท
ส่วน Ed Vaughan (2001: 2) กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกในศตวรรษที่ 18 สังคมวิทยาเกิดขึ้นมาในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในยุโรป
ความหมายของสังคมวิทยา
James W. & Vander Zanden (1993: 2) กล่าวว่า สังคมวิทยาเป็นการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการกระทำระหว่างกันของมนุษย์ในสังคมและการจัดระเบียบทางสังคม
ทฤษฎีทางสังคมวิทยาคืออะไร
Durkheim ใช้ทฤษฎีในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการฆ่าตัวตายกับความเป็นจริงทางสังคม Durkheim ไม่ได้สนใจเรื่องบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคลเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย แต่เขาสนใจอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ
Durkheim ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Suicide ใน ค.ศ. 1897 หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานชิ้นสำคัญของเขา ที่เขาพยายามจะเน้นให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายนั้นมีความสัมพันธ์กับความจริงทางสังคม
Durkheim ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มนั้นมีผลต่อการฆ่าตัวตาย
นักสังคมวิทยารุ่นแรกที่สำคัญ
1.ออกุส กองต์ Comte เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศส ได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาของสังคมวิทยา" Comte เป็นผู้ค้นพบวิชาสังคมวิทยาและเป็นผู้บัญญัติหรือตั้งชื่อศาสตร์นี้ว่า "สังคมวิทยา" ซึ่งเป็นศาสตร์ใหม่ที่เน้นศึกษาสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยการสังเกต ทดลอง และเปรียบเทียบ Comte กล่าวว่าสังคมวิทยานั้นเป็น "ราชินีแห่งศาสตร์"
2. แฮเรียต มาร์ติโน เป็นนักสังคมวิทยาหญิงชาวอังกฤษรุ่นแรก ๆ เธอสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของคนในสังคมอเมริกาและอังกฤษ เธอได้ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาสังคมเช่นเดียวกับ Comte เธอมีงานเขียนชิ้นแรกเกี่ยวกับ Methodology of Social Research ชื่อว่า How to Observe Maners and Morals. ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1838 นอกจากนี้เธอยังศึกษาเปรียบเทียบระบบชนชั้นของยุโรปกับของอเมริกาอีกด้วย
3. ดาร์ล มาร์กซ์ Marx เป็นนักคิดชาวเยอรมัน เกิดที่เยอรมนี แต่ตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของเขา เขาจะใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงลอนดอน เขามักจะแสดงตัวเองว่าเป็นนักรัฐศาสตร์ ไม่ใช่นักสังคมวิทยา ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วเขาเป็นทั้งนักรัฐศาสตร์และนักสังคมวิทยา และนอกจากนี้เขายังเป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์อีกด้วย
4. เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ Spencer เป็นนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ เขาเห็นด้วยกับ Comte ในเรื่องเกี่ยวกับสังคมสถิตและสังคมพลวัต Spencer เห็นว่าสังคมมีความสำคัญเหมือนกับชีวอินทรีย์ Spencer ชี้ให้เห็นว่าระบบต่าง ๆ ของสังคม ทำงานสัมพันธ์กันเหมือนกับร่างกายของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยไต ปอด หัวใจ ในขณะที่สังคมนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยสถาบันต่าง ๆ
5. เอมิล ดูร์ไคม์ Durkheim เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส เขาเรียนหนังสือทั้งที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี เขาเป็นศาสตราจารย์ทางด้านสังคมวิทยาคนแรกของประเทศฝรั่งเศส เขาสนใจเรื่อง Division of labor ในสังคมอุตสาหกรรม ซึ่งคนงานมักอยู่ในภาวะไร้บรรทัดฐาน ซึ่งสังคมในขณะนั้นพบว่า การควบคุมของสังคมล้มเหลวไม่มีประสิทธิภาพ ภาวะไร้บรรทัดฐานทำให้คนไร้ทิศทางในการประพฤติปฏิบัติสภาพการณ์ที่เกิดภาวะไร้บรรทัดฐานนั้นมักจะเกิดขึ้นตอนที่สังคมกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะคนในสังคมขณะนั้นจะรู้สึกสับสนกับสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมใหม่ นอกจากนี้เขายังตระหนักถึงคำว่า "Alienation" ซึ่งหมายถึงภาวะแปลกแยก ผู้คนจะรู้สึกโดดเดี่ยว หรือถูกทอดทิ้ง มักเกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่แบบสังคมอุตสาหกรรม
6. แมกซ์ เวเบอร์ Weber เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเช่นเดียวกับ Marx ผลงานของ Weber มีมากมาย
แหล่งข้อมูลจากหนังสือความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาเบื้องต้น
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
http://www.timeshighereducation.co.uk/comment/opinion/craig-calhoun-on-bbcs-dangerous-use-of-lse-camouflage-in-north-korea/2003173.article Craig Calhoun
http://craigcalhounmusic.com/ Craig Calhoun
http://sociology.fas.nyu.edu/object/craigcalhoun.html Craig Calhoun
http://durkheim.uchicago.edu/ Durkheim
http://www.emile-durkheim.com/ Durkheim
http://www.iep.utm.edu/durkheim/ Durkheim
http://www.marxists.org/reference/subject/philosophy/works/fr/durkheim.htm Durkheim
http://www.youtube.com/watch?v=IfjycYvlZGg Durkheim
http://www.openbase.in.th/files/tbpj124.pdf ออกุสต์ กองต์
http://library.cmu.ac.th/faculty/econ/index.php?option=com_content&task=view&id=273&Itemid=522 คาร์ล มาร์กซ์ karl marx
http://www.sarakadee.com/2012/04/19/karl-marx/ คาร์ล มาร์กซ์ karl marx
http://guru.sanook.com/history/topic/480/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5_%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C_(Karl_Heinrich_Marx)/ คาร์ล มาร์กซ์ karl marx
http://www.thaisocialist.com/thaisocialist1/khwam_khid-thvsdi/Entries/2011/1/29_kharl_mar_ks_nak_khid_phuthrng_xiththiphl.html คาร์ล มาร์กซ์ karl marx
http://www.baanjomyut.com/library_2/socialist_and_communist_zionist/02.html คาร์ล มาร์กซ์ karl marx
http://www.oknation.net/blog/nu52/2010/09/11/entry-1 คาร์ล มาร์กซ์ karl marx
http://grailert.wordpress.com/2011/06/01/%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-herbert-spencer/ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ Spencer
http://www.panrob.com/v2009/img/doc/264513-2553-01-05-community.pdf เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ Spencer
http://www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=49&category_id=11 เอมิล ดูร์ไคม์
http://www.oknation.net/blog/srena/2008/01/30/entry-1 เอมิล ดูร์ไคม์
http://www.thai-library.org/showResource.php?ResourceID=1153&ResourceType=1 เอมิล ดูร์ไคม์
http://ecom53.blogspot.com/2011/07/max-weber.html แมกซ์ เวเบอร์ (max weber)
http://guru.sanook.com/history/topic/222/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94_%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C_%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_(Max_Weber)/ แมกซ์ เวเบอร์ (max weber)
http://dhammahappiness.blogspot.com/2011/03/max-weber.html แมกซ์ เวเบอร์ (max weber)
http://file.siam2web.com/cmmba/max_weber.pdf แมกซ์ เวเบอร์ (max weber)
http://kaewpanya.cttc.rmutl.ac.th/index/index.php?option=com_content&view=article&id=106:-21-2407-max-weber-&catid=25:21- แมกซ์ เวเบอร์ (max weber)
http://v-siam.blogspot.com/2011/12/blog-post_9068.html แมกซ์ เวเบอร์ (max weber)